DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Institute of Research and Innovation Development >
Research Reports >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/3431

Title: การประยุกต์ใช้ SECI model เพื่อสอนวิชาภาษาอังกฤษในระดับมหาวิทยาลัย
Other Titles: An application of SECI model to teach English at university level
รายงานการวิจัยเรื่อง การประยุกต์ใช้ SECI model เพื่อสอนวิชาภาษาอังกฤษในระดับมหาวิทยาลัย
Authors: ชุติมา ธรรมรักษา
Keywords: ภาษาอังกฤษ -- การศึกษาและการสอน (อุดมศึกษา) -- วิจัย
การบริหารองค์ความรู้ -- วิจัย
มหาวิทยาลัยกรุงเทพ -- นักศึกษา -- วิจัย
ชุติมา ธรรมรักษา -- ผลงานวิจัย
ชุติมา ธรรมรักษา -- ผลงานอาจารย์
มหาวิทยาลัยกรุงเทพ -- ผลงานวิจัย
มหาวิทยาลัยกรุงเทพ -- ผลงานอาจารย์
Issue Date: 2552
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: งานวิจัยเชิงคุณภาพเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการประยุกต์ใช้กระบวนการสร้างความรู้ SECI Model ซึ่งประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ 1) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Socialization) 2) การสร้างความรู้ชัดแจ้งจากความรู้ฝังลึก (Externalization) 3) การรวมความรู้ (Combination) และ 4) การนำความรู้ชัดแจ้งมาปฏิบัติ (Internalization) ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษพื้นฐาน 1 ให้กับนักศึกษามหาวิทยาลัยกรุงเทพ ชั้นปีที่ 1 จำนวน 36 คน โดยผู้วิจัยใช้เครื่องมือวิจัย 4 ชนิด คือ 1) แผนการสอน (Lesson Plan) 2) แบบบันทึกการเรียนรู้ (Learning Log) 3) บันทึกการสังเกตการณ์สอน (Observation Log) และ 4) การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) ผลการวิจัยพบว่า การเรียนการสอนภาษาอังกฤษ โดยใช้ SECI Model ทำให้ผู้เรียนได้รับประโยชน์ในด้านต่างๆ จากการทำกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ คือ ได้เรียนรู้ภาษาอังกฤษจากแหล่งความรู้หลากหลายได้ฝึกทักษะที่จำเป็นในการทำงานร่วมกัน ได้ฝึกความกล้าแสดงออกทางความคิด และได้พัฒนาทัศนคติที่ดีต่อการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ เนื่องจากผู้เรียนรู้สึกสนุกกับการได้ร่วมทำกิจกรรมทั้งหมด นอกจากนี้ ผู้เรียนยังสามารถสกัดความรู้ฝังลึกออกมาเป็นความรู้ชัดแจ้งโดยผ่านการเล่าเคล็ดลับการเขียนย่อความ การเขียนแบ่งปันความรู้ใน Blog และการผลิตนวัตกรรมสื่อการเรียนรู้ ทั้งนี้ การสกัดความรู้ฝังลึกดังกล่าวเป็นการกระตุ้นให้ผู้เรียนได้คิดสะท้อนความรู้และทักษะที่มีอยู่ภายในตนเองออกมาโดยวิธีการพูดและเขียนเล่าสู่กันฟัง ซึ่งนอกจากจะเกิดประโยชน์ทั้งต่อตนเองในเรื่องของการฝึกทบทวนความรู้ที่มีอยู่และการถ่ายทอดออกมาเป็นลายลักษณ์อักษรแล้วนั้น ยังสามารถเป็นประโยชน์ต่อผู้เรียนอื่นๆ ที่ได้รับฟังหรือได้อ่านอีกด้วยต่อจากนั้นผู้เรียนได้นำความรู้ชัดแจ้งเหล่านั้นมาเรียบเรียงให้อยู่ในรูปแบบต่างๆ ดังนี้ 1) เอกสารรวมเคล็ดลับการเขียนย่อความ 2) เอกสารรวมความรู้จาก Blog 3) เอกสารรวมเทคนิคการเรียนรู้ภาษาอังกฤษจากการสัมภาษณ์แขกรับเชิญ และ 4) ซีดีนวัตกรรมสื่อการเรียนรู้ ซึ่งการทำกิจกรรมทั้งหมดเหล่านี้ทำให้ผู้เรียนได้ฝึกทักษะการคิดสังเคราะห์ จัดหมวดหมู่ และเรียบเรียงข้อมูล เพื่อให้มีความเหมาะสมกับการจัดทำเป็นเอกสารที่สามารถเข้าใจได้ง่าย ซึ่งจะเป็นคลังความรู้ (Knowledge Asset) ที่สามารถนำไปปฏิบัติและเผยแพร่ต่อไปได้ นอกจากนี้ ผลการวิจัยที่ได้จากการสัมภาษณ์ผู้เรียนเกี่ยวกับการบรรลุเป้าหมายของการเรียนพบว่า ผู้เรียนส่วนใหญ่ คือ ร้อยละ 94.44 สามารถบรรลุเป้าหมายของการเรียนตามที่ตั้งไว้ก่อนเริ่มเรียน และสามารถพัฒนาทักษะการใช้ภาษาอังกฤษได้ดีขึ้นในด้านการเรียนรู้คำศัพท์ การอ่านจับใจความและการมีความกล้าคิด เขียน และพูดภาษาอังกฤษมากขึ้น
“SECI,” a model of the knowledge creating process includes four stages of knowledge construction: 1) Socialization; 2) Externalization; 3) Combination; and 4) Internalization. This study is aimed at investigating the results of applying the SECI model in order to teach “Fundamental English I” course for 36 participants—all freshmen at Bangkok University. As qualitative research, this study incorporated the following research tools in the data collection process: 1) a lesson plan specifically designed on the basis of the SECI model concept; 2) a learning log; 3) an observation log; and 4) an in-depth interview with all the participants. The major findings of this study are: 1) By incorporating socialization activities, the participants could learn English from multiple knowledge resources, practice process of work skills, build confidence in expressing ideas and thoughts, and develop a positive attitude towards learning English. 2) The participants could construct explicit knowledge from tacit knowledge through telling their classmates about tips in summary writing, sharing English learning and practicing tips in Blog, and producing innovative instructional materials. All these activities provided the participants with opportunities to reflect on their tacit knowledge and skills and then to share them with other participants through talking and writing. 3) The participants could combine and organize explicit knowledge in the form of: a) written materials of summary writing tips, b) written materials of knowledge from Blog, c) written materials of English learning techniques from in-class interviewing of guest speakers, and d) CDs—as products of innovative instructional materials. All these materials were kept as knowledge assets which could later be made public. 4) The participants could internalize explicit knowledge by applying the information from the materials previously stated in number three. In addition, through the process of producing innovative instructional materials, the participants had an opportunity to internalize explicit knowledge. 5) 94.44% of the participants could achieve their learning goals and develop their English skills in an assortment of different ways.
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/3431
Appears in Collections:Research Reports

Files in This Item:

File Description SizeFormat
chutima_tham.pdf5.05 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback