DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Institute of Research and Innovation Development >
Research Reports >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/3427

Title: การจัดการเรียนการสอนด้วยอินเทอร์เน็ตเพื่อการเรียนรู้ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในเขตกรุงเทพมหานคร
Other Titles: Internet-based instruction for high school students’ learning in Bangkok metropolis
รายงานการวิจัยเรื่อง การจัดการเรียนการสอนด้วยอินเทอร์เน็ตเพื่อการเรียนรู้ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในเขตกรุงเทพมหานคร
Authors: สุพจน์ อิงอาจ
Keywords: อินเตอร์เน็ตในการศึกษา -- วิจัย
คอมพิวเตอร์ช่วยการสอน -- วิจัย
การเรียนรู้ -- วิจัยนักเรียนมัธยมศึกษา -- วิจัย
มหาวิทยาลัยกรุงเทพ -- ผลงานอาจารย์
สุพจน์ อิงอาจ -- ผลงานอาจารย์
Issue Date: 2550
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) การยอมรับอินเทอร์เน็ต ความรู้ที่ได้รับจากอินเทอร์เน็ต ประสบการณ์การใช้อินเทอร์เน็ต พฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ต ทัศนคติต่ออินเทอร์เน็ต การจัดการเรียนการสอนด้วยอินเทอร์เน็ตเพื่อการเรียนรู้ การใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการเรียนรู้ และผลการเรียนของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในเขตกรุงเทพมหานคร (2) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการเรียนรู้ ความรู้ที่ได้รับจากอินเทอร์เน็ต และผลการเรียนของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในเขตกรุงเทพมหานคร และ (3) ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุต่อการใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการเรียนรู้ ความรู้ที่ได้รับจากอินเทอร์เน็ต และผลการเรียนของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในเขตกรุงเทพมหานคร ตัวอย่างในงานวิจัยเป็นนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 6 สายสามัญ ประจำปีการศึกษา 2549 ของโรงเรียนในเขตกรุงเทพมหานครจำนวน 350 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามการวิจัยที่ผ่านการหาคุณภาพของแบบสอบถามโดยการหาความตรงเชิงเนื้อหา (content validity) และความเชื่อมั่นของแบบสอบถามการวิจัย (reliability: 746-888) และวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาค่าเฉลี่ย (mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) สหสัมพันธ์อย่างง่าย (simple correlation) และวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุและผล (path analysis) ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป SPSS for Windows ผลการวิจัยพบว่า: 1. การยอมรับอินเทอร์เน็ตของนักเรียนอยู่ในระดับมาก ความรู้ที่ได้รับจากอินเทอร์เน็ต การใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการเรียนรู้ ทัศนคติต่ออินเทอร์เน็ต พฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ต และการจัดการเรียนการสอนด้วยอินเทอร์เน็ตเพื่อการเรียนรู้ของนักเรียนอยู่ในระดับปานกลาง มีประสบการณ์การใช้อินเทอร์เน็ตเฉลี่ย 6 ปี และมีผลการเรียนเฉลี่ย 3.11 (S.D. = .53) 2. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ การจัดการเรียนการสอนด้วยอินเทอร์เน็ต การยอมรับอินเทอร์เน็ต พฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ต ทัศนคติต่ออินเทอร์เน็ต และ ประสบการณ์การใช้อินเทอร์เน็ต โดยตัวแปรดังกล่าวมีความสัมพันธ์เชิงบวกต่อการใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการเรียนรู้ ส่วนตัวแปรที่มีความสัมพันธ์กับความรู้ที่ได้รับจากอินเทอร์เน็ตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ การจัดการเรียนการสอนด้วยอินเทอร์เน็ต การยอมรับอินเทอร์เน็ต พฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ต ทัศนคติต่ออินเทอร์เน็ต และ การใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการเรียนรู้ ในขณะที่ตัวแปรต่างๆ ดังกล่าวมีเพียง 2 ตัวที่มีความสัมพันธ์กับผลการเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ การใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการเรียนรู้ และความรู้ที่ได้รับจากอินเทอร์เน็ต 3. ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุที่มีต่อความรู้ที่ได้รับจากอินเทอร์เน็ตของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในเขตกรุงเทพมหานคร ได้รับอิทธิพลการใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการเรียนรู้การจัดการเรียนการสอนด้วยอินเทอร์เน็ตเพื่อการเรียนรู้ ทัศนคติต่ออินเทอร์เน็ต การยอมรับอินเทอร์เน็ต และพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ต โดยมีค่าอิทธิพลเท่ากับ .680, .224, .182, .120, และ .114 ตามลำดับ และผลการเรียนของนักเรียนได้รับอิทธิพลทางตรงจากความรู้ที่ได้รับจากอินเทอร์เน็ตโดยมีค่า อิทธิพลเท่ากับ .092 และรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุในการเรียนรู้จากอินเทอร์เน็ตสามารถอธิบายความแปรปรวนทั้งระบบได้ร้อยละ 62.5
The purposes of this research were (1) to study Internet acceptation, knowledge from Internet, Internet-usage experience, Internet-usage behavior, attitude toward Internet, Internet-based instruction, Internet-usage for learning, and learning achievement of high schools students in Bangkok Metropolis, (2) to study factors that relationship to the Internet-usage for learning, to the knowledge from Internet, and to the learning achievement of above students, and (3) to study factors that causal relationship to the Internet-usage for learning, to the knowledge from Internet, and to the learning achievement of above students. The sample group was 350 students from high schools academic year 2006, in Bangkok Metropolis. The instrument used for collecting data was a Likert scale questionnaire which passed validity of item-objective congruence index with the value .5 upwards. For the reliability, Cronbach’s alpha coefficient was between .746 - .888. Then the data were analyzed using SPSS for Windows to find out mean, standard deviation (S.D.), simple correlation, and path analysis. The research results showed that: 1. Internet acceptation were at high average level, knowledge from Internet, Internet-usage for learning, attitude toward to Internet, Internet-usage behavior, and Internet-based instruction were at medium average level. The average of Internet-usage experience was 6 years, and the mean of learning achievement was 3.11 (S.D. = .53) 2. The variables that have statistic significant correlated to the Internet-usage for learning were the Internet-based instruction, Internet acceptation, Internet-usage behavior, attitude toward to Internet and Internet-usage experience. These variables had positive correlated toward the Internet-usage for learning. While the variables that have significant correlated to the knowledge from Internet were the Internet-based instruction, Internet acceptance, Internet-usage behavior, attitude toward to Internet, and Internet-usage for learning. Only two variables that have significant correlated to the learning achievement were the Internet-usage for learning and knowledge from Internet. 3. The causal relationship towards the knowledge from Internet of above students was influenced from the Internet-usage for learning and Internet-based instruction, attitude toward to Internet, Internet acceptation, and also Internet-usage behavior, which the influence values were .680m .224, .182, .120, and .144 respectively. The learning achievement of such students was directly influenced from the knowledge from Internet that the influence value was .092, and the causal relationship model of the Internet-based could explain or predicted the relationship of the whole system with a percentage of 62.5.
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/3427
Appears in Collections:Research Reports

Files in This Item:

File Description SizeFormat
supot_inga.pdf3.39 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback