DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Institute of Research and Innovation Development >
Research Reports >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/3415

Title: การประเมินความต้องการจำเป็นด้านคุณภาพข่าวในหนังสือพิมพ์รายวันภาษาไทยของประชาชนในกรุงเทพมหานคร
Other Titles: Needs assessment of news quality in Thai daily newspapers of people in Bangkok
รายงานการวิจัยเรื่อง การประเมินความต้องการจำเป็นด้านคุณภาพข่าวในหนังสือพิมพ์รายวันภาษาไทยของประชาชนในกรุงเทพมหานคร
Authors: บุบผา เมฆศรีทองคำ
Keywords: หนังสือพิมพ์ -- ไทย -- วิจัย
หนังสือพิมพ์ -- วิจัย
การสื่อข่าวและการเขียนข่าว -- ไทย -- วิจัย
การสื่อข่าวและการเขียนข่าว -- วิจัย
บุบผา เมฆศรีทองคำ -- ผลงานวิจัย
มหาวิทยาลัยกรุงเทพ -- ผลงานวิจัย
Issue Date: 2546
Publisher: ทบวงมหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความต้องการจำเป็นด้านคุณภาพข่าวในหนังสือพิมพ์รายวันภาษาไทยของประชาชนในกรุงเทพมหานครโดยมีวัตถุประสงค์ย่อยในการวิจัย คือ 1) เพื่อศึกษา ค้นคว้าและกำหนดกรอบแนวคิดเกี่ยวกับคุณภาพข่าวในหนังสือพิมพ์รายวันภาษาไทย 2) เพื่อสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับความต้องการจำเป็นด้านคุณภาพข่าวในหนังสือพิมพ์รายวันภาษาไทยของประชาชนในกรุงเทพมหานคร 3) เพื่อจัดเรียงอันดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นด้านคุณภาพข่าวในหนังสือพิมพ์รายวันภาษาไทยของประชาชนในกรุงเทพมหานคร โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 320 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสอบถามที่สร้างขึ้นตามกรอบแนวคิดเกี่ยวกับคุณภาพข่าวที่ได้จากการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องและจากการสัมภาษณ์ความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญด้านหนังสือพิมพ์ แบ่งการวิจัยออกเป็น 2 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษากรอบแนวคิดเกี่ยวกับคุณภาพข่าวในหนังสือพิมพ์รายวันภาษาไทย ประกอบด้วยการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพข่าวในหนังสือพิมพ์รายวันภาษาไทยและการสัมภาษณ์ความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญซึ่งเป็นอาจารย์ที่สอนวิชาด้านหนังสือพิมพ์เกี่ยวกับคุณภาพข่าวในหนังสือพิมพ์รายวันภาษาไทย ได้ผลสรุปว่ากรอบแนวความคิดเกี่ยวกับคุณภาพข่าวในหนังสือพิมพ์รายวันภาษาไทยครอบคลุม 3 มิติ ได้แก่ 1) เนื้อหาสาระของข่าว ประกอบด้วย ความถูกต้อง ความมีประโยชน์ ความดึงดูดใจ ความน่าเชื่อถือ ความต่อเนื่อง และความชัดเจน 2) รูปแบบการรายงานข่าว ประกอบด้วย วิธีการรายงานแบบตรงไปตรงมา วิธีการรายงานเชิงสืบสวน วิธีการรายงานเชิงตีความ และวิธีการรายงานแบบวิทยาศาสตร์ และ 3) ภาษาในการรายงานข่าว ประกอบด้วย ภาษาพาดหัวข่าวและภาษาเนื้อข่าว ขั้นตอนที่ 2 การประเมินความต้องการจำเป็นด้านคุณภาพข่าวในหนังสือพิมพ์รายวันภาษาไทยของประชาชนในกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย 1. ผลการศึกษาความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อคุณภาพข่าวในปัจจุบันของหนังสือพิมพ์รายวันภาษาไทยได้ผลสรุปดังนี้ 1.1 เนื้อหาสาระของข่าวพบว่าโดยภาพรวมมีคุณภาพอยู่ในระดับปานกลาง (3.25) เมื่อแยกพิจารณาในแต่ละประเด็นพบว่าความดึงดูดใจที่มีคุณภาพมากที่สุดอยู่ในระดับมาก (3.58) และอันดับสุดท้าย คือความน่าเชื่อถือ (3.02) 1.2 รูปแบบการรายงานข่าวพบว่าโดยรวมมีคุณภาพอยู่ในระดับปานกลาง (3.09) เมื่อแยกพิจารณาในแต่ละประเด็นพบว่าวิธีการรายงานแบบตรงไปตรงมามีคุณภาพมากที่สุดอยู่ในระดับปานกลาง (3.20) และอันดับสุดท้าย คือวีการรายงานแบบวิทยาศาสตร์ (2.89) 1.3 ภาษาในการรายงานข่าวพบว่าโดยภาพรวมมีคุณภาพอยู่ในระดับปานกลาง (3.17) เมื่อแยกพิจารณาในแต่ละประเด็นพบว่าภาษาเนื้อข่าวมีคุณภาพมากที่สุดอยู่ในระดับปานกลาง (3.25) และอันดับสุดท้าย คือ ภาษาพาดหัวข่าว (3.08) 2. ผลการศึกษาความคาดหวังของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อคุณภาพข่าวในหนังสือพิมพ์รายวันภาไทย ได้ผลสรุปดังนี้ 2.1 เนื้อหาสาระของข่าวพบว่าโดยภาพรวมคาดหวังว่ามีคุณภาพอยู่ในระดับมาก (4.30) เมื่อแยกพิจารณาในแต่ละประเด็นพบว่ามีความคาดหวังในประเด็นความน่าเชื่อถือว่ามีคุณภาพมากที่สุดอยู่ในระดับมาก (4.32) และอันดับสุดท้าย คือ ความมีประโยชน์และความดึงดูดใจซึ่งมีคุณภาพเท่ากัน (4.28) 2.2 รูปแบบการรายงานข่าวพบว่าโดยภาพรวมคาดหวังว่ามีคุณภาพอยู่ในระดับมาก (4.26) เมื่อแยกพิจารณาในแต่ละประเด็นพบว่ามีความคาดหวังในประเด็นวิธีการรายงานแบบตรงไปตรงมาว่ามีคุณภาพมากที่สุดอยู่ในระดับมากที่สุด (4.35) และอันดับสุดท้าย คือ วิธีการรายงานแบบวิทยาศาสตร์ (4.22) 2.3 ภาษาในการรายงานข่าวพบว่าโดยภาพรวมคาดหวังว่ามีคุณภาพอยู่ในระดับมาก (4.23) เมื่อแยกพิจารณาในแต่ละประเด็นพบว่ามีความคาดหวังในประเด็นภาษาเนื้อข่าวมีคุณภาพมากที่สุดอยู่ในระดับมาก (4.28) และอันดับสุดท้าย คือ ภาษาพาดหัวข่าว (4.18) 3. ผลการวิเคราะห์ค่าดัชนีและการจัดเรียงอันดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นด้านคุณภาพข่าวในหนังสือพิมพ์รายวันภาษาไทย ได้ผลสรุปว่าโดยภาพรวมคุณภาพข่าวที่จัดว่าเป็นความสำคัญของความต้องการจำเป็นสูงสุดเรียง 3 อันดับ คือ รูปแบบการรายงานข่าว (0.36) ภาษาในการรายงานข่าว (0.33) และเนื้อหาสาระของข่าว (0.32) ตามลำดับ เมื่อแยกพิจารณารายละเอียดในแต่ละมิติของคุณภาพข่าวได้ผลสรุปดังนี้ 3.1 เนื้อหาสาระของข่าวพบว่าโดยภาพรวมแต่ละประเด็นที่จัดว่าเป็นความสำคัญของความต้องการจำเป็นสูงสุด คือ ความดึงดูดใจ (0.79) และอันดับสุดท้าย คือ ความมีประโยชน์ (0.30) เมื่อจำแนกตามอาชีพ พบว่าความคิดเห็นของครู/อาจารย์/นักเรียน/นิสิต นักศึกษา ข้าราชการ/พนักงานรับวิสาหกิจและพนักงานบริษัทเอกชน ที่จัดว่าเป็นความสำคัญของความต้องการจำเป็นสูงสุด คือ ความน่าเชื่อถือ (0.52ม 0.05 และ 0.44 ตามลำดับ) ขณะที่อาชีพอิสระ/ค้าขาย/ประกอบธุรกิจส่วนตัว/รับจ้างทั่วไปพบว่าประเด็นที่จัดว่าเป็นความสำคัญของความต้องการจำเป็นสูงสุด คือ ความต่อเนื่อง (0.29) 3.2 รูปแบบการรายงานข่าวพบว่าโดยภาพรวมแต่ละประเด็นที่จัดว่าเป็นความสำคัญของความต้องการจำเป็นสูงสุด คือ วิธีการรายงานแบบวิทยาศาสตร์ (0.46) และอันดับสุดท้าย คือ วิธีการรายงานเชิงสืบสวน (0.34) เมื่อจำแนกตามอาชีพพบว่าความคิดเห็นของครู/อาจารย์/นักเรียน/นิสิต นักศึกษา ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจและพนักงานบริษัทอกชนที่จัดว่าเป็นความสำคัญของความต้องการจำเป็นสูงสุด คือ วิธีการรายงานแบบวิทยาศาสตร์ (0.56ม 0.05 และ 0.42 ตามลำดับ) และอาชีพอิสระ/ค้าขาย/ประกอบธุรกิจส่วนตัว/รับจ้างทั่วไปพบว่าประเด็นที่จัดว่าเป็นความสำคัญของความต้องการจำเป็นสูงสุด คือ วิธีการรายงานเชิงตีความ (0.36) 3.3 ภาษาในการรายงานข่าวพบว่าโดยภาพรวมแต่ละประเด็นที่จัดว่าเป็นความสำคัญของความต้องการจำเป็น สูงสุด คือ ภาษาพาดหัวข่าว (0.36) และอันดับสุดท้าย คือ ภาษาเนื้อข่าว (0.32) เมื่อจำแนกตามอาชีพพบว่า ความคิดเห็นของครู/อาจารย์/นักเรียน/นิสิต นักศึกษา ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ พนักงานบริษัทอกชน และอาชีพ อิสระ/ค้าขาย/ประกอบธุรกิจส่วนตัว/รับจ้างทั่วไปที่จัดว่าสำคัญของความต้องการจำเป็นสูงสุด คือภาษาพาดหัวข่าว (0.38ม 0.37ม 0.33 และ 0.34 ตามลำดับ)
The major purpose of this research is to assess the Bangkokians’ needs of news quality in Thai daily newspapers. The minor are 1) to study the idea of news quality in Thai daily newspapers 2) to survey the opinions of Bangkokians’ need of news quality in Thai daily newspapers and 3) to prioritize the Bangkokians’ need of new quality in Thai daily newspapers. The sample group for this study comprised 320 subjects. Questionnaires constructed to the idea related to the news quality derived from reviewing literature and interviewing journalism experts. Research procedure includes 2 phases Phase 1: The study of the idea related to the news quality in Thai daily newspapers was conducted on the literature review and opinions of the experts teaching journalism. The finding of this phase is the news quality in Thai daily newspaper covering 3 dimensions, 1) news consisting of accuracy, usefulness, attraction, trustworthiness, continuity and clarity, 2) new reporting consisting of straightforward news reporting, investigative reporting, interpretative reporting and precision journalism and 3) news reporting language consisting of headlines language and news content language. Phase 2: The Bangkokians’ needs assessment of news quality in Thai daily newspapers consists of: 1. The results from the study concerning people’s views of current news quality can be summarized as follows: 1.1 The overall quality of news content is rated as intermediate (3.25). When each factor is considered, “attraction” is the highest rated quality and classified as high (3.58). The last news quality is “trustworthiness” (3.02) 1.2 The overall quality of news reporting is rated as intermediate (3.09). When each factor is considered, the quality “straight-forward news reporting” is rated the highest and classified as intermediate (3.20). The last news quality is “precision journalism” (2.89). 1.3 The overall quality of news reporting language is rated as intermediate (3.17). When each factor is considered, “news content language” is rated the highest and classified as intermediate (3.25). The last news quality is “headlines language” (3.08) 2. The results from the study of the expectations of the sample group towards the future news quality in Thai daily newspapers can be summarized as follows: 2.1) The future overall of news content is rated highly (4.30). When each factor is considered, “trustworthiness” is the highest rated quality and classified as high (4.32). The last news quality are “usefulness” and attraction” (4.28). 2.2) The future overall quality of news reporting is rated highly (4.26). When each factor is considered, future expectation of news quality in “straight-forward news reporting” is the highest rated quality. This particular is rated the highest (4.35). The last ranked category is “precision journalism” (4.22) 2.3) The future overall quality of news reporting language is rated highly (4.23). When each factor is considered, “news content language” is the highest rated quality and classified as high (4.28). The last important news quality is “headlines language” (4.18) 3. The results of the index value analysis and establishing the priority of the news quality needs in Thai daily newspapers can be summarized as follows: I developed three rankings in order to prioritize needs in the three areas which are news content, news reporting language. The ranking are news reporting (0.36), news reporting language (0.33) and news content (0.32) respectively. News reporting is the highest priority, and so on. A ranking of news reporting means that people perceive a problem which needs to be addressed. Separately considering each dimension of news quality, the findings are as follows: 31.) The overall need news content was ranked highest is “attraction” (0.79). The need which was ranked lowest is “usefulness” (0.30). This means that people would like an improvement in the way news is packaged and presented. The news content, as classified by occupational groups, secondary and tertiary teacher/high school students/university, government/state enterprise officials and employees of private business found that “trustworthiness” is the highest need (0.52, 0.50 and 0.44 respectively). The freelances/merchants/self-employed/general employees found that “continuity” is the most important need (0.29) 3.2) The overall need news reporting in which people would most like to see improvement is “precision journalism” (0.46). The need with which people are least dissatisfied is “investigative reporting” (0.34). Broken down by occupational group, secondary and tertiary teacher/high school students/university students, government/state enterprise officials and employees of private business found that “precision journalism” is category with the highest need for improvement (0.56, 0.55 and 0.42 respectively). The freelances/merchants/self-employed/general employees found that “interpretative reporting” is category with the highest need for improvement (0.36). 3.3) The overall need of news reporting language which people most want improvement in is “headlines language” (0.36). The least important priority is “news content language” (0.32). Classified by occupational groups, all groups agreed that “headlines language” is the highest need in which there is a problem (0.38, 0.37, 0.33 and 0.34 respectively.
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/3415
Appears in Collections:Research Reports

Files in This Item:

File Description SizeFormat
bubpha_maks.pdf10.34 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback