DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Institute of Research and Innovation Development >
Research Reports >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/3388

Title: การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐานระหว่างกลุ่มที่เรียนโครงการปรับพื้นฐานความรู้ และกลุ่มที่ไม่เรียนโครงการปรับพื้นฐานความรู้ ของนักศึกษามหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Other Titles: A comparison of fundamental mathematics achievement between tutoring program and non-tutoring program of Bangkok University students
รายงานการวิจัยเรื่อง การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐานระหว่างกลุ่มที่เรียนโครงการปรับพื้นฐานความรู้ และกลุ่มที่ไม่เรียนโครงการปรับพื้นฐานความรู้ ของนักศึกษามหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Authors: กฤศวรรณ ประเสริฐสิทธิ์
Keywords: คณิตศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน (อุดมศึกษา) -- ไทย
คณิตศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน (อุดมศึกษา) -- วิจัย
มหาวิทยาลัยกรุงเทพ -- ผลงานวิจัย
กฤศวรรณ ประเสริฐสิทธิ์ -- ผลงานวิจัย
Issue Date: 2548
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐานของนักศึกษาที่เรียนและไม่เรียนโครงการปรับพื้นฐานความรู้ และศึกษาความคิดเห็น ข้อเสนอแนะและปัญหาในการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐานของนักศึกษาที่เรียนและไม่เรียนโครงการปรับพื้นฐานความรู้ โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 1คณะบริหารธุรกิจและคณะบัญชี ภาคปกติ ระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ที่ลงทะเบียนเรียนวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน ในภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2547 จำนวนทั้งหมด 128 คน โดยแบ่งนักศึกษาออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลองเป็นนักศึกษาที่สมัคเรียนโครงการปรับพื้นฐานความรู้วิชาคณิตศาสตร์พื้นฐานในภาคการศึกษา 2547 ทุกคน จำนวน 64 คน และกลุ่มควบคุมเป็นนักศึกษาที่ไม่เรียนโครงการปรับพื้นฐานความรู้ และมีผลคะแนนสอบวัดพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของนักศึกษาแต่ละคนเท่ากันกับนักศึกษากลุ่มทดลอง โดยใช้วิธีการจับคู่ (matching) เป็นคู่ ๆ จำนวน 64 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับการเรียนวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน แบบทดสอบวัดพื้นฐานทางคณิตศาสตร์และข้อสอบวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน จากนั้นนำข้อมูลที่ได้มาทำการวิเคราะห์หา ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (x ̅) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD.) และเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างกลุ่มที่เรียนและไม่ได้เรียนโครงการปรับพื้นฐานความรู้ โดยใช้สถิติ t-test (Paired-Samples T Test) ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป SPSS for Windows ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐานโดยเฉลี่ยของนักศึกษาที่เรียนโครงการปรับพื้นฐานความรู้ สูงกว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐานโดยเฉลี่ยของนักศึกษาที่ไม่เรียนโครงการปรับพื้นฐานความรู้ อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2) ในด้านความคิดเห็นเกี่ยวกับวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความคิดเห็นว่าวิชาคณิตศาสตร์บางเรื่องสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ แต่นักศึกษาที่มีพื้นฐานความรู้ทางคณิตศาสตร์ไม่ดี หรือสำเร็จการศึกษามาจากสายพาณิชย์ สายอาชีวะศึกษา หรือสายศิลป์นั้นจะมีความรู้สึกว่า ในบางเรื่องมีความซับซ้อนมากต้องเสียเวลาในการทำความเข้าใจค่อนข้างมาก และทำความเข้าใจได้ช้า ไม่มีเวลาทบทวนบทเรียน ไม่มีเวลาทำการบ้านจึงทำให้เมื่อเรียนเรื่องที่ยากขึ้นก็ยิ่งไม่เข้าใจมากขึ้น
The purpose of this research is to compare fundamental mathematics achievement between tutoring and noon-tutoring programs. Also study of students’ opinion, suggestion and problem about fundamental mathematics instruction between tutoring and non-tutoring programs. The samples in this research were 128 freshy students of Bangkok University in 2004 academic year selected by matching. The instruments used in this research were opinion questionnaire, test of basic mathematics and examination paper for fundamental mathematics. Data were analyzed by percentage, mean, standard deviation and paired sample t-test using SPSS for Windows. The results of this research show that 1) Average of fundamental mathematics achievement of tutoring program was higher than that of non-tutoring program. But the difference was not significant at the level 0.05. 2) The student’s opinion about mathematics instruction indicated that most of them can apply learnt lessons in their daily lives. Students who had inadequate basic in mathematics or finished from vocational school typically had to spend long time to follow the lessons. They had insufficient time to review the lessons or complete their homework which leaded to incomprehensibility of more complicated topics.
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/3388
Appears in Collections:Research Reports

Files in This Item:

File Description SizeFormat
krisawan_pras.pdf60.79 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback