DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Institute of Research and Innovation Development >
Research Reports >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/3365

Title: สถิติวิเคราะห์พฤติกรรมเชิงจริยธรรมของนักศึกษาระดับอุดมศึกษา ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
Other Titles: Statistical analysis of moral behaviors of bachelor degree students in Bangkok and suburb
รายงานการวิจัย สถิติวิเคราะห์พฤติกรรมเชิงจริยธรรมของนักศึกษาระดับอุดมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
Authors: อภิญญา อิงอาจ
Keywords: นักศึกษา -- ไทย -- วิจัย
จริยธรรม -- วิจัย
มหาวิทยาลัยกรุงเทพ -- ผลงานอาจารย์
อภิญญา อิงอาจ -- ผลงานอาจารย์
Issue Date: 2549
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสหสัมพันธ์ (Correlation Research) ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบ พฤติกรรมเชิงจริยธรรม ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรกลุ่มลักษณะสถานการณ์ ตัวแปรกลุ่มจิตลักษณะเดิม และตัวแปรจิตลักษณะตามสถานการณ์ กับพฤติกรรมเชิงจริยธรรม และศึกษาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของตัวแปรกลุ่มลักษณะสถานการณ์ ตัวแปรกลุ่มจิตลักษณะ และตัวแปรจิตลักษณะตามสถานการณ์ที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมเชิงจริยธรรมของนิสิตนักศึกษาระดับอุดมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ตัวอย่างในการศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นนิสิตนักศึกษาระดับอุดมศึกษาภาคปกติในมหาวิทยาลัยของรัฐ มหาวิทยาลัยราชภัฏ และมหาวิทยาลัยเอกชนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ที่เปิดสอนในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์-สุขภาพ สาขาวิทยาศาสตร์-เทคโนโลยี และสาขาสังคมศาสตร์-ศิลปะศาสตร์ ทั้ง 4 ชั้นปี ในปีการศึกษา 2545 จำนวน 1,460 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวย่างแบบสุ่มสามขั้นตอน (Three-Stage Sampling) เครื่องมือการวิจัยในครั้งนี้ ประกอบด้วย 1) แบบวัดตัวแปนกลุ่มพฤติกรรมเชิงจริยธรรมที่ประกอบด้วย 5 ด้านคือ แบบวัดด้านความมีระเบียบวินัย แบบวัดด้านความรับผิดชอบ แบบวัดด้านความซื่อสัตย์สุจริต แบบวัดความเมตตากรุณา และแบบวัดด้านความประหยัด 2) แบบวัดตัวแปรกลุ่มลักษณะสถานการณ์ ประกอบด้วย 3 ด้านคือแบบวัดการอบรมเลี้ยงดู แบบรักสนับสนุนใช้เหตุผล แบบวัดความใกล้ชิดศาสนาของครอบครัว และแบบวัดลักษณะของเพื่อน 3) แบบวัดตัวแปรกลุ่มจิตลักษณะเดิม ประกอบด้วย 3 ด้านคือ แบบวัดด้านสุขภาพจิต แบบวัดด้านความเชื่ออำนาจในตน และแบบวัดด้านเหตุผลเชิงจริยธรรม และ 4) แบบวัดตัวแปรจิตลักษณะตามสถานการณ์ คือ แบบวัดทัศนคติที่ดีต่อพฤติกรรมเชิงจริยธรรม โดยแบบวัดแต่ละด้านเป็นแบบวัดแบบประเมินค่า 6 ระดับ ที่มีค่าความเชื่อมั่นอยู่ระหว่าง .590 - .871 และใช้สถิติวิเคราะห์เพื่อตอบสมมติฐานการวิจัย ได้แก่ การวิเคราะห์ความแปรปรวนตัวแปรพหุ (MANOVA) การวิเคราะห์การถดถอยพหุ (Multiple Regression Analysis) การวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เส้นทาง (Path Analysis) และการวิเคราะห์สหสัมพันธ์แคนอนิคอล (Canonical Correlation Analysis) ด้วยโปรแกรม SAS และโปรแกรม SPSS for Windows ร่วมกับโปรแกรม LISREL ผลการวิจัยที่สำคัญมี ดังนี้ 1. พฤติกรรมเชิงจริยธรรมของนิสิตนักศึกษาระดับอุดมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลที่เพศ สาขาวิชา ระดับการเรียน และฐานะทางเศรษฐกิจของครอบครัวที่แตกต่างกัน มีผลทำให้พฤติกรรมเชิงจริยธรรมแตกต่างกัน ในขณะที่นิสิตนักศึกษาที่ครอบครัวมีสภาพต่างกัน ไม่ได้ทำให้พฤติกรรมเชิงจริยธรรมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ตัวแปรในกลุ่มลักษณะสถานการณ์ 3 ตัวแปร ได้แก่ การอบรมเลี้ยงดูแบบรักสนับสนุนใช้เหตุผล ความ ใกล้ชิดศาสนาของครอบครัว และลักษณะของเพื่อน ตัวแปรในกลุ่มจิตลักษณะเดิม 3 ตัวแปร ได้แก่ สุขภาพจิต ความเชื่ออำนาจในตน และเหตุผลเชิงจริยธรรม และตัวแปรจิตลักษณะตามสถานการณ์ 1 ตัวแปร คือ ทัศนคติที่ดีต่อพฤติกรรมเชิงจริยธรรมร่วมกันทำนายพฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านความมีระเบียบวินัยได้ร้อยละ 35.7 ทำนายพฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านความรับผิดชอบได้ร้อยละ 47.5 ทำนายพฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านความซื่อสัตย์สุจริตได้ร้อยละ 38.2 ทำนายพฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านความเมตตากรุณาได้ร้อยละ 35.6 และทำนายพฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านความประหยัดได้ร้อยละ 25.2 โดยที่ทัศนคติที่ดีต่อพฤติกรรมเชิงจริยธรรมเป็นตัวแปรที่ทำนายพฤติกรรมเชิงจริยธรรมเป็นตัวแปรที่ทำนายพฤติกรรมเชิงจริยธรรมทั้ง 5 ด้านได้มากที่สุด 3. ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของตัวแปรกลุ่มลักษณะสถานการณ์ 3 ตัวแปร ได้แก่ การอบรมเลี้ยงดูแบบรัก สนับสนุนใช้เหตุผล ความใกล้ชิดศาสนาของครอบครัว และลักษณะของเพื่อน ตัวแปรในกลุ่มจิตลักษณะเดิม 3 ตัวแปร ได้แก่ สุขภาพจิต ความเชื่ออำนาจในตน และเหตุผลเชิงจริยธรรม และตัวแปรจิตลักษณะตามสถานการณ์ 1 ตัวแปร คือ ทัศนคติที่ดีต่อพฤติกรรมเชิงจริยธรรม ที่มีต่อพฤติกรรมเชิงจริยธรรม พบว่าทัศนคติที่ดีต่อพฤติกรรมเชิงจริยธรรมมีอิทธิพลทางตรงต่อพฤติกรรมเชิงจริยธรรมทั้ง 5 ด้าน ในขณะลักษณะของเพื่อนความใกล้ชิดศาสนาครอบครัว และเหตุผลเชิงจริยธรรม มีทั้งอิทธิพลทางตรง และทางอ้อมต่อพฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านความมีระเบียบวินัย ด้านความรับผิดชอบ และด้านความซื้อสัตย์สุจริต และการอบรมเลี้ยงดูแบบรักสนับสนุนใช้เหตุผล และความเชื่ออำนาจในตน มีเพียงอิทธิพลทางอ้อมต่อพฤติกรรมเชิงจริยธรรมทั้ง 5 ด้าน โดยอ้อมผ่านทัศนคติที่ดีต่อพฤติกรรมเชิงจริยธรรม 4. ค่าสหสัมพันธ์แคนอนิคอลระหว่างตัวแปรกลุ่มลักษณะสถานการณ์ 3 ตัวแปร ตัวแปรกลุ่มจิตลักษณะ เดิม 3 ตัวแปร ตัวแปรจิตลักษณะตามสถานการณ์ 1 ตัวแปร รวม 7 ตัวแปร กับ พฤติกรรมเชิงจริยธรรมทั้ง 5 ด้านของนิสิตนักศึกษาในกลุ่มรวมมีค่าเท่ากับ .754 โดยที่ทัศนคติที่ดีต่อพฤติกรรมเชิงจริยธรรมมีน้ำหนักในการทำนายพฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านความรับผิดชอบได้มากที่สุด
The research is a type of Correlation Research which aims (1) to compare moral behaviors, (2) to study the relationship between variables in group of situational characteristics, variables in group of psychological characteristics and a variable of situational psychological characteristic with moral behaviors and (3) to study causal relations of variables in group of situational characteristics, variables in group of psychological characteristics and a variable of situational psychological characteristic influencing moral behaviors of students in higher education level in the area of Bangkok and suburb. The samples in this research are 1,460 students from Government University, Rajabhat University, and Private University, which are offering the fields of Science-Health, Science-Technology, and Social Science-Liberal Arts in 2005 academic year in Bangkok and suburb. Three-Stage Sampling is utilized. The research tool is a questionnaire relating 1) moral behaviors consisting of five aspects: discipline, responsibility, honesty, mercy and saving 2) three variables in group of situational characteristic comprising love and reasoning-oriented child rearing practice, religion closeness of the family and characteristics of friends 3) three variables in group of psychological characteristics consisting of mental health, belief in self-power and moral reasoning and 4) a variable of situational psychological characteristic in the form of six-rating attitude scale of moral behaviors. Statistical analysis is applied to answer the research hypothesis through Multivariate Analysis of Variance (MANOVA), Multiple Regression Analysis, Causal Relations Analysis with the Path Analysis, and Canonical Correlation Analysis. The result of the research were as follows: 1. Students in higher education level in the area of Bangkok and suburb who have different gender, study fields, year levels, academic achievement and family economic status have different moral behaviors. While the students from different type of family have no statistically significant difference in moral behaviors at the level of .05. 2. Three variables in group of situational characteristics, namely love and reasoning-oriented child rearing practice, religion closeness of the family and characteristics of friends. Three variables in group of psychological characteristics, which are mental health, belief in self-power, and moral reasoning, and one variable of situational psychological characteristic, namely attitude towards moral behaviors help to forecast moral behaviors on discipline aspect at 35.7% on re4sponsibility aspect at 47.5%, on honesty aspect at 38.2%, on mercy aspect at 35.6% and on saving aspect at 25.2%. The attitude towards moral behaviors has the highest predictability on five aspects of moral behaviors. 3. Regarding causal relations of three variables in group of situational characteristics (comprising love and reasoning-oriented child rearing practice, religion closeness of the family and characteristics of friends), three variables in group of psychological characteristics (which are mental health, belief in self power, and moral reasoning) and one variable of situational psychological characteristic (which is attitude towards moral behaviors), it is found that attitude towards moral behaviors has direct influence towards five aspects of moral behaviors. While friends’ characteristics, religion closeness of the family and moral reasoning have both direct and indirect influence on moral behaviors in aspects of discipline, responsibility and honesty. Love and reasoning-oriented child rearing practice; and belief in self-power have only indirect influence on five aspects of moral behaviors, but indirectly through attitude towards moral behaviors. 4. For canonical correlations value between three variables in group of situational characteristics, three variables in group of psychological characteristics and one variable of situational psychological characteristic (seven factors in total) and five aspects of moral behaviors has value of .754., the attitude towards moral behaviors has the highest predictability on moral behavior in aspect of responsibility.
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/3365
Appears in Collections:Research Reports

Files in This Item:

File Description SizeFormat
apinya_inga.pdf48.45 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback