DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Institute of Research and Innovation Development >
Research Reports >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/3364

Title: การศึกษาระดับเชาว์อารมณ์ของพนักงานในองค์การ
Other Titles: รายงานการวิจัยเรื่อง การศึกษาระดับอารมณ์ของพนักงานในองค์การ
A study of employees’ emotional quotient in the organization
Authors: สุทธินันทน์ พรหมสุวรรณ
Keywords: พนักงานบริษัท -- วิจัย
ความฉลาดทางอารมณ์ -- วิจัย
การทำงาน -- วิจัย
อารมณ์ -- วิจัย
สุทธินันทน์ พรหมสุวรรณ -- ผลงานวิจัย
มหาวิทยาลัยกรุงเทพ -- ผลงานวิจัย
Issue Date: 2546
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: ในปัจจุบันพบว่าองค์การส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับระดับเชาว์อารมณ์ของพนักงานในองค์การมากขึ้น ซึ่งเป็นผลดีต่อการพัฒนาศักยภาพการทำงานของพนักงาน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยนี้ คือ นักศึกษาระดับปริญญาโทชั้นปีที่ 1 และ 2 สาขาการบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ที่มีงานประจำในบริษัท ซึ่งมีจำนวนทั้งสิ้น 176 คน วิธีการทางสถิติที่ใช้และสรุปผลข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย การทดสอบค่าที (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (one-way ANOVA) และ Post Hoc Tests Multiple Comparisons ด้วยวิธีของ Scheffe โดยทดสอบที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ผลการวิจัยสามารถสรุปได้ ดังนี้ 1. พนักงานในองค์การที่มีเพศ อายุ ระดับรายได้ ระยะเวลาการทำงานในบริษัท และ ระดับชั้นปีที่กำลังศึกษา แตกต่างกันให้ระดับความสำคัญกับการเอาใจใส่ผู้อื่นไม่แตกต่างกัน 2. พนักงานในองค์การที่มีเพศ อายุ ระดับรายได้ ระยะเวลาทำงานในบริษัท และระดับชั้นปีที่กำลังศึกษา แตกต่างกัน ให้ระดับความสำคัญกับทักษะทางสังคมไม่แตกต่างกัน 3. พนักงานในองค์การที่มีเพศ อายุ ระดับรายได้ ระยะเวลาการทำงานในบริษัท และระดับชั้นปีที่กำลังศึกษา แตกต่างกัน ให้ระดับความสำคัญกับการตระหนักรู้ตนเองไม่แตกต่างกัน 4. พนักงานในองค์การที่มีเพศ อายุ ระดับรายได้ ระยะเวลาการทำงานในบริษัทและระดับชั้นปีที่กำลังศึกษาแตกต่างกัน ให้ระดับความสำคัญกับการควบคุมตนเองไม่แตกต่างกัน 5. พนักงานในองค์การที่มีเพศ อายุ ระดับรายได้ ระยะเวลาการทำงานในบริษัทและระดับชั้นปีที่กำลังศึกษาแตกต่างกัน ให้ระดับความสำคัญกับการสร้างแรงจูงใจไม่แตกต่างกัน
Many organizations presently paid more attention to employees’ emotional quotient which increased employees’ work performance. The sample of this research were collected from one hundred and seventy six of the first-year and second-year of M.B.A. students from Bangkok University. Statistical instruments such as percentage, mean, standard deviation, one-way ANOVA and Scheffe’s Post Hoc Tests Multiple Comparisons with the significant level at 0.05 were selected to complete the process of data analysis. The findings were as follows: 1. There were no statistically significant differences in knowing one’s emotions and gender, age, income, year of working and educational status. 2. There were no statistically significant differences in social skills and gender, age, income, year of working and educational status. 3. There were no statistically significant differences in self-esteem and gender, age, income, year of working and educational status. 4. There were no statistically significant differences in self-control and gender, age, income, year of working and educational status. 5. There were no statistically significant differences in self-motivation and gender, age, income, year of working and educational status.
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/3364
Appears in Collections:Research Reports

Files in This Item:

File Description SizeFormat
suthinan_poms.pdf5.91 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback