DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Graduate School >
Master Degree >
Theses >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/2982

Title: ความสัมพันธ์ระหว่างการใช้ประโยชน์และความพึงพอใจ รูปแบบการดำเนินชีวิต และพฤติกรรมการใช้สื่อประเภทจอแบบหลากจอของคนชั้นกลางในเขตกรุงเทพมหานคร
Other Titles: The relationship between utilization and gratification, lifestyle and behavior on multiscreen media uses of middle class user in Bangkok metropolis
Authors: ภัทรพล เพิ่มทอง
Keywords: การใช้สื่อประเภทจอแบบหลากจอ
Issue Date: 2560
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความแตกต่างระหว่างลักษณะทางประชากรกับพฤติกรรมการใช้สื่อประเภทจอแบบหลากจอของชนชั้นกลางในเขตกรุงเทพมหานคร 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบการดำเนินชีวิตกับพฤติกรรมการใช้สื่อประเภทจอแบบหลากจอของ ชนชั้นกลางในเขตกรุงเทพมหานคร 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการใช้สื่อประเภทจอแบบหลากจอกับการใช้ประโยชน์ของพฤติกรรมการใช้สื่อประเภทจอแบบหลากจอของชนชั้นกลางในเขตกรุงเทพมหานคร และ 4) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการใช้สื่อประเภทจอแบบหลากจอกับความพึงพอใจต่อพฤติกรรมการใช้สื่อประเภทจอแบบหลากจอของชนชั้นกลางในเขตกรุงเทพมหานคร โดยใช้การวิจัยเชิงสำรวจ และมีแบบสอบถามออนไลน์เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นชนชั้นกลางในเขตกรุงเทพมหานคร ที่มีอายุ 18 - 60 ปี มีรายได้ 10,000 - 49,999 บาทต่อเดือน ระดับการศึกษาอนุปริญญาไปจนถึงระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า จำนวน 350 คน แล้วนำข้อมูลที่ได้มาประมวล และวิเคราะห์ทางสถิติโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ ผลการวิจัยพบว่า 1) ลักษณะทางประชากรของผู้ตอบแบบสอบถามเป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย มีอายุระหว่าง 18 - 24 ปี มีการศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี มีอาชีพเป็นพนักงานบริษัทเอกชน และมีรายได้ 10,000 - 19,999 บาท 2) พฤติกรรมการใช้สื่อประเภทจอแบบมัลติสกรีน พบว่า ครอบครองโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบสมาร์ตโฟนมากที่สุด มีรูปแบบการใช้สื่อประเภทจอแบบ มัลติสกรีน 3 รูปแบบ คือ แบบใช้พร้อมกันในหลายเรื่อง แบบใช้พร้อมกันในเรื่องเดียวกัน และแบบ ใช้เป็นลำดับในเรื่องเดียวกัน โดยทั้ง 3 รูปแบบมีพฤติกรรมอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีลักษณะการใช้เพื่อเข้าเครือข่ายสื่อสังคมมากที่สุด และมักจะใช้ในช่วงระหว่างการเดินทาง อีกทั้งสถานที่ที่ใช้สื่อ ส่วนใหญ่จะเป็นที่บ้าน คือ ห้องนอนและห้องนั่งเล่น โดยจะให้ความสำคัญกับโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบสมาร์ตโฟนมากที่สุด 3) การใช้ประโยชน์ของพฤติกรรมการใช้สื่อประเภทจอแบบมัลติสกรีน จะใช้เพื่อช่วยในการติดต่อสื่อสารกับบุคคลต่าง ๆ ได้สะดวกยิ่งขึ้น และทำให้ติดตามข่าวสารได้รวดเร็วทันเหตุการณ์ 4) ความพึงพอใจต่อพฤติกรรมการใช้สื่อประเภทจอแบบมัลติสกรีน มีความพึงพอใจที่พฤติกรรมการใช้สื่อประเภทจอแบบมัลติสกรีนนั้นมีประโยชน์ต่อชีวิตประจำวันมากที่สุด ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า 1) ลักษณะทางประชากรที่แตกต่างกัน มีผลต่อพฤติกรรมการใช้สื่อประเภทจอแบบมัลติสกรีนของชนชั้นกลางในเขตกรุงเทพมหานคร แตกต่างกัน 2) รูปแบบการดำเนินชีวิตมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้สื่อประเภทจอแบบมัลติสกรีนของชนชั้นกลางในเขตกรุงเทพมหานคร 3) พฤติกรรมการใช้สื่อประเภทจอแบบมัลติสกรีนมีความสัมพันธ์กับการใช้ประโยชน์ของพฤติกรรมการใช้สื่อประเภทจอแบบมัลติสกรีนของชนชั้นกลางในเขตกรุงเทพมหานคร 4) พฤติกรรมการใช้สื่อประเภทจอแบบมัลติสกรีนมีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจต่อพฤติกรรมการใช้สื่อประเภทจอแบบมัลติสกรีนของชนชั้นกลางในเขตกรุงเทพมหานคร
The research objectives are: 1) to study the differences between demographic factors and behavior of middle class users with multiscreen media usage in Bangkok Metropolis, 2) to study the relationship between lifestyle and behavior of middle class users with multiscreen media usage in Bangkok Metropolis, 3) to study the relationship between behavior of multiscreen media usage and utilization and gratification’s behavior of middle class users with multiscreen media usage in Bangkok Metropolis and 4) to study the relationship behavior of multiscreen media usage and gratification’s behavior of middle class users with multiscreen media usage in Bangkok Metropolis. By using the survey research technique and online questionnaires, the study collected a sample of 350 middle class users in Bangkok Metropolis who had income between 10,000 - 49,999 Baht per month, aged between 18 – 60 years old, and took the diploma to bachelor degrees. Statistical Package for the Social Sciences (SPSS) was employed to statistically analyze the derived data. The result found that majority of respondents included female who was aged between 18 – 24 years old with the bachelor degree and worked for public organizations, and had income between 10,000 - 19,999 Baht per month. Behavior of multiscreen usage part indicated that the respondents generally used the smartphones and the three main categories of multiscreen media included Multi-tasking (Unrelated activity), Complementary Usage (Related activity) and Sequential Usage and these three main categories implied that the degree of behavior toward using multiscreen media was moderate which socialization and travelling represented the highest mean value and the frequent use was when being on the travel. Furthermore, the bed room and living room were the place that respondents had spent most of their time using the smartphone. The main purpose of using the multiscreen media was to communicate with other people and to keep updating the news more conveniently. Moreover, the majority of respondents satisfied with the use of multiscreen media due to their benefits to daily life. The result of hypotheses testing found that the differences in demographic factors had differently effected on behavior of middle class users with multiscreen media usage in Bangkok Metropolis and there was a significant relationship between lifestyle and behavior of middle class users with multiscreen media usage in Bangkok Metropolis and there was a relationship between behavioral factor and beneficial on multiscreen media, and also found that there was a significant relationship between behavior of multiscreen media users and gratification’s behavior of middle class users with multiscreen media usage in Bangkok Metropolis.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--สาขาวิชาการสื่อสารเชิงกลยุทธ์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2559
Subjects: จอภาพคอมพิวเตอร์
จอสัมผัส
โทรศัพท์เคลื่อนที่
สมาร์ทโฟน
โน้ตบุ๊คคอมพิวเตอร์
การสื่อสารทางการตลาด -- การศึกษาเฉพาะกรณี
พฤติกรรมผู้บริโภค -- การศึกษาเฉพาะกรณี
Advisor(s): อริชัย อรรคอุดม
มัลลิกา ผลอนันต์
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/2982
Appears in Collections:Theses

Files in This Item:

File Description SizeFormat
pattarapol_perm.pdf7.49 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback