DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Graduate School >
Master Degree >
Theses >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/2921

Title: การมีส่วนร่วมของชุมชนต่อแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม หมู่บ้านช้าง บ้านตากลาง ต.กระโพ อ.ท่าตูม จ.สุรินทร์
Other Titles: The community participation for a cultural tourism attraction of elephant village, Ban Taklang, Krapho Subdistrict, Tatum district, Surin province
Authors: ศศลักษณ์ พอลลาร์ด
Keywords: การมีส่วนร่วมของชุมชน
แหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
หมู่บ้านช้าง
Issue Date: 2560
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม หมู่บ้านช้าง บ้านตากลาง ต.กระโพ อ.ท่าตูม จ.สุรินทร์ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมของชุมชนต่อแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม หมู่บ้านช้าง บ้านตากลาง ต.กระโพ อ.ท่าตูม จ.สุรินทร์ 3) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และแนวทางในการมีส่วนร่วมของชุมชนต่อแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม หมู่บ้านช้าง บ้านตากลาง ต.กระโพ อ.ท่าตูม จ.สุรินทร์ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตหมู่บ้านช้าง บ้านตากลาง ต.กระโพ อ.ท่าตูม จ.สุรินทร์ จำนวน 400 คน และกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญจากการสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 6 แห่ง ได้แก่ องค์การบริหารส่วนจังหวัดสุรินทร์, องค์การบริหารส่วนตำบลกระโพ, ผู้ใหญ่บ้าน บ้านตา กลาง, บริษัทนำเที่ยว, โรงแรมทองธารินทร์, โรงแรมสุรินทร์มาเจสติก การวิจัยในครั้งนี้ได้เก็บรวบรวมข้อมูลอยู่ระหว่างเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2559 – เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2560 ผลการศึกษาพบว่า ศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม หมู่บ้านช้าง บ้านตากลาง ต.กระโพ อ.ท่าตูม จ.สุรินทร์ โดยรวมอยู่ในระดับมาก ซึ่งศักยภาพด้านคุณค่าของแหล่งท่องเที่ยวมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด อยู่ในระดับมากเท่ากับ 3.90 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมของชุมชนที่มีต่อแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม หมู่บ้านช้าง บ้านตากลาง ต.กระโพ อ.ท่าตูม จ.สุรินทร์ โดยรวม อยู่ในระดับมาก ซึ่งปัจจัยภายในชุมชนมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด อยู่ในระดับมากเท่ากับ 3.78 รองลงมาคือปัจจัยด้านศักยภาพ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.75 ปัญหาและอุปสรรคในการมีส่วนร่วมของชุมชนต่อแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม หมู่บ้านช้าง บ้านตากลาง ต.กระโพ อ.ท่าตูม จ.สุรินทร์ จากทั้ง 3 ปัจจัยพบว่า โดยรวมอยู่ในระดับปานกลางทั้งหมด ซึ่งปัจจัยด้านศักยภาพมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดอยู่ในระดับปานกลางเท่ากับ 2.75 ปัญหาหลักของการมีส่วนร่วมของชุมชนคือ ชุมชนเห็นว่ามีหน่วยงานต่าง ๆ เข้ามาดูแล พัฒนาศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวอย่างสม่ำเสมออยู่แล้ว ชุมชนจึงไม่ตระหนักถึงความสำคัญที่จะเข้ามามีส่วนร่วมเกี่ยวข้องหรือทำประโยชน์ต่อด้านนี้เท่าที่ควร โดยเสนอแนะให้ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และผู้ประกอบการภาคธุรกิจควรให้ความรู้ และมีบุคลากรนำร่องในชุมชน เพื่อให้ชุมชนตระหนักและเล็งเห็นว่าแหล่งท่องเที่ยวที่อยู่ในชุมชนนั้นควรค่าแก่การมีส่วนร่วมในการรักษาและพัฒนาศักยภาพให้ดียิ่งขึ้นสืบไป ส่วนอุปสรรคในการทำวิจัยนี้คือ การให้ความร่วมมือในการให้ข้อมูลของคนในชุมชนยังไม่มากเท่าที่ควร เนื่องจากส่วนใหญ่ให้เหตุผลว่าเสียเวลาในการออกไปทำงาน โดยสอดคล้องกับช่วงเวลาที่สามารถเก็บข้อมูลได้เฉพาะตอนกลางวันเท่านั้น ซึ่งเป็นเวลาที่คนในชุมชนออกไปทำเกษตรกรรมกันหมด ทำให้ผู้วิจัยใช้เวลาค่อนข้างมากในการเก็บข้อมูล และประโยชน์ในการทำวิจัยนี้คือ หน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องหรือแม้กระทั่งชุมชนหมู่บ้านช้างจังหวัดอื่นก็สามารถนำผลการวิจัยไปประยุกต์ ปรับปรุง ให้เกิดการพัฒนาและจูงใจให้คนในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้นได้ในอนาคตเช่นกัน
This research had the objectives to: 1) study the potential of cultural attractions in Ban Taklang Elephant Village, Krapho Subdistrict, Tatum District, Surin Province; 2) identify factors that affect the participation of community towards cultural attractions in Ban Taklang Elephant Village, Krapho Subdistrict, Tatum District, Surin Province; and 3) examine the problems, obstacles, and guidelines regarding the participation of community towards cultural attractions in Ban Taklang Elephant Village, Krapho Subdistrict, Tatum District, Surin Province. The data were collected from 400 people who resided in Ban Taklang Elephant Village, Krapho Subdistrict, Tatum District, Surin Province. Moreover, the data were collected from an in-depth interview with 6 participants who are Surin Provincial Administrative Organization, Krapho Subdistrict Administrative Organization, Taklang Village Headman, Travel Agent, Thongtarin Hotel, and Surin Majestic Hotel. This study collected data from November 2016 to February 2017. From findings, it shows that, the potential of cultural attractions in Ban Taklang Elephant Village, Krapho Subdistrict, Tatum District, Surin Province was at a high level in overall. The potential in the aspect of the value of attractions had the highest average at 3.90. Similarly, the factors that affected the participation of community towards the cultural attractions in Ban Taklang Elephant Village, Krapho Subdistrict, Tatum District, Surin Province also had a high level in overall. The internal factor of the community had the highest average at 3.78 and the second one is the potential factor had the average at 3.75. Furthermore, the problems and obstacles concerning the participation of community towards the cultural attractions in Ban Taklang Elephant Village, Krapho Subdistrict, Tatum District, Surin Province, based on all three factors, were found to be at a moderate level in overall. The factor in the aspect of potential had the highest average, at a moderate level, of 2.75. The primary problem of the community’s participation was their perception, wherein they believed that various organizations had already managed and developed the potential of such attractions on a regular basis. Hence, they were not aware of the importance of participating or providing social benefits in this area. Accordingly, it was recommended that the public sector, private sector, and entrepreneurs in the business sector, should provide knowledge and personnel to lead the community. The objective was to raise awareness amongst the community regarding the importance of participating in the maintenance and development of cultural attractions for long term sustainability. The limitation of this research is the insufficient participation of the community in providing information. The majority of people in the community provided the reason for such lack of participation as the loss of their time to work, concerning the fact that the data had to be collected only in the afternoon, which was the period when most people practiced farming. As a result, the researcher had to spend a lot of time in collecting data. Meanwhile, the benefits of this research are other related agencies or even the community in Elephant Village itself can use the findings of this research to develop and motivate people in the community to increase their level of participation in the future.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรมการบริการและการท่องเที่ยว บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2560
Subjects: การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม -- ไทย -- สุรินทร์ -- การจัดการ
การท่องเที่ยวโดยชุมชน -- สุรินทร์
การท่องเที่ยวแบบยั่งยืน -- สุรินทร์
การท่องเที่ยว -- สุรินทร์
นิเวศภูมิทัศน์ -- ไทย -- สุรินทร์
ศิลปวัฒนธรรม -- ไทย -- สุรินทร์
สุรินทร์ -- ภูมิประเทศและการท่องเที่ยว
ช้าง -- ไทย -- สุรินทร์
สุรินทร์ -- ความเป็นอยู่และประเพณี
Advisor(s): ดวงธิดา นันทาภิรัตน์
ชลวิช สุธัญญารักษ์
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/2921
Appears in Collections:Theses
Theses

Files in This Item:

File Description SizeFormat
sasalak_poll.pdf167.77 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback