DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Graduate School >
Master Degree >
Theses >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/2730

Title: การใช้พื้นที่ภายในอาคารอนุรักษ์ กรณีศึกษา: หอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ
Other Titles: Utilizing space within conserved building: A case study of art centre at Silpakorn University Wang Thapra
Authors: โกญจนาจ ทององอาจ
Keywords: การใช้พื้นที่ภายในอาคาร
อาคารอนุรักษ์
หอศิลป์มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ
Issue Date: 2560
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจและประเมินสภาพอาคารและแนวทางการใช้สอยพื้นที่ภายในกลุ่มอาคารต่าง ๆ ของหอศิลป์มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ ศึกษาปัจจัยที่มีผล กระทบต่อลักษณะทางกายภาพและการใช้สอยพื้นที่ภายในกลุ่มอาคารต่าง ๆ และเสนอแนะแนวทางการแก้ปัญหาการใช้ประโยชน์พื้นที่ภายในกลุ่มอาคารต่าง ๆ ที่เหมาะสมตามหลักการของสถาปัตยกรรมศาสตร์ โดยใช้การสำรวจรายละเอียดทางกายภาพของกลุ่มอาคารในหอศิลป์ฯ ประกอบด้วยอาคารท้องพระโรงตำหนักกลางที่รวมไปถึงห้องด้านหลังและตำหนักพรรณรายใน 3 ส่วน ได้แก่ ตัวอาคาร พื้นที่บริเวณภายในอาคาร และสภาพแวดล้อมทางกายภาพโดยรอบอาคาร ร่วมกับการสัมภาษณ์เชิงลึกเกี่ยวกับความคิดเห็นด้านสภาพอาคาร แนวทางการใช้สอยพื้นที่และปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดจากการใช้สอยพื้นที่ ตลอดจนแนวทางการปรับปรุงแก้ไขปัญหาเหล่านั้นจากตัวแทนของเจ้าพนักงานระดับหัวหน้าประจำหอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ รวม 7 ท่าน และใช้ 4 ขั้นตอน การบริหารจัดการข้อมูลเชิงคุณภาพ (King, 2004) มานำเสนอข้อมูลที่ได้ตามเครื่องมือวิจัยแต่ละประเภทเพื่อแบ่งประเภทข้อมูล และนำข้อมูลได้จาก 2 เครื่องมือวิจัยมาบูรณาการแล้วนำเสนอตามกลุ่มอาคารโดยรวมและรายอาคารในมุมมองของข้อดีและข้อด้อยเพื่อจำแนกข้อมูล จากนั้นจึงทำการพิเคราะห์ถึงลำดับความสำคัญของสิ่งที่ค้นพบเป็นผลมาจากข้อจำกัดต่าง ๆ ที่ทำให้หอศิลป์ฯ ไม่สามารถดำเนินการต่าง ๆ พร้อมกันให้มีระสิทธิภาพได้เพื่อค้นหาความสัมพันธ์ของข้อมูลสำหรับหาข้อสรุปของกลุ่มปัญหาและอุปสรรคหลักที่ควรได้รับการแก้ไขโดยเร่งด่วนและกลุ่มปัญหาและอุปสรรครองที่ควรวางแผนดำเนินการตามระยะเวลาที่เหมาะสมเพื่อสร้างสมมติฐานใหม่ ซึ่งผลการศึกษาสรุปได้ว่ากลุ่มอาคารหอศิลป์ฯ ยังมีสภาพดีสามารถนำมาใช้งานเป็นพิพิธภัณฑ์ได้โดยเฉพาะการจัดแสดงผลงานศิลปะขนาดเล็กถึงปานกลาง โดยมีข้อดีจากความสวยงามทางสถาปัตยกรรมแบบโคโลเนียล แต่พบข้อด้อยจากพื้นผิวผนังภายนอกของแต่ละอาคารมีร่องรอยการชำรุดและสีซีดเป็นรอยด่าง ปัญหาสำคัญที่สุดเป็นเรื่องการพิจารณาการจัดแสดงผลงานที่เหมาะสมและการชำรุดของโครงสร้างหลังคาและเพดานบริเวณจุดที่ได้รับผลกระทบจากการรั่วซึมในแต่ละอาคารที่ควรได้รับการซ่อมแซมอย่างเร่งด่วนเพื่อลดลกระทบเชิงลบที่มีต่ออาคารอนุรักษ์ที่ครอบคลุมไปถึงการสร้างความไม่กลมกลืนกันระหว่างอาคารอนุรักษ์กับผลงานร่วมสมัยหรือสมัยใหม่ที่นำมาจัดแสดงด้วย นอกจากนี้ ผลการศึกษายังได้เสนอแนะให้ซ่อมแซมพื้นไม้ปาร์เก้ในท้องพระโรงและชั้นบนตำหนักกลางที่ชำรุดจากการกำหนดให้เป็นแผนระยะสั้น โดยรวมไปถึงการแก้ไขเรื่องสีและคราบสกปรกที่ผนังภายในและภายนอกอาคารต่าง ๆ ร่วมกับการพิจารณาถึงความคุ้มค่าในการเปิดใช้หน้าต่างและประตูที่ปิดตายเพื่อใช้เป็นทางเข้าออกของอาคารต่าง ๆ และได้ใช้ประโยชน์จากลมและแสงธรรมชาติจากภายนอกอาคาร พร้อมกันนี้ยังมีข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแผนระยะปานกลางและระยะยาวสำหรับการอนุรักษ์ที่ดีเพื่อใช้ดูแลรักษาเชิงป้องกันได้อย่างต่อเนื่องอีกด้วย
The objectives of this research were to survey and evaluate current condition and utilizing space of internal space of buildings of the Art Centre at Silpakorn University Wang Thapra; study any factors impacting physical nature and means of space utility for the buildings; and recommend appropriate ways in solving the possible problems according to architectural principles. It employed a physical detailed survey for three parts – buildings themselves, internal space and physical environment surrounding the buildings of stateroom, main hall including back rooms and Pannarai Palace together with in-depth interview about comments on the building conditions, ways of space utility and facing problems covering their solving means from seven representatives of officials in supervisory level of the Art Centre. And, managing qualitative data via 4-stage analysis of King (2004) primarily proposes categorized data and integrates and proposed unitized data into strong and weak points of whole and individual buildings from both sources. Then, significance sequence of the findings was considered due to various limitations affecting efficiency of its simultaneous operations as results of relationship among the variables in order to conclude all problems and threats needed urgent solutions as main group and minor group of problems and threats that should be solved in suitably periodic planning for creating new assumptions. In conclusion, the findings revealed that all the buildings still had good conditions and can be usable as museum particularly for small- and medium-sized art exhibits with its strengths from valuable Colonial-style architecture but weaknesses found to involve ruined surface of exterior walls. The most prioritized problems consisted of appropriate art exhibition considerations and roof structure with ceiling of each building in order to reduce negative impacts on the reserved buildings that covered inconsistency of the buildings and contemporary or modern works to be exhibited. Moreover, this also recommended to repair dilapidated parquet floor at the stateroom and up-stair of the main hall together with new painting and cleaning of both their internal and external walls and trade-off considerations between pros and cons of windows and doors closure that reduced number of access and prevented getting benefits from natural energy as short-term planning. Medium- and long-term plans were, herewith, recommended for continually preventive maintenance as their good conservation.
Description: วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--สาขาวิชาสถาปัตยกรรมภายใน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2560
Subjects: หอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
สถาปัตยกรรมภายใน
การวางผังห้องในศิลปกรรม
การวางผังอาคาร
อาคาร -- การใช้ประโยชน์
Advisor(s): ชัยสิทธิ์ ด่านกิตติกุล
ธนธร กิตติกานต์
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/2730
Appears in Collections:Theses
Theses

Files in This Item:

File Description SizeFormat
kongjanat_thon.pdf7.84 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback