DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Graduate School >
Master Degree >
Theses >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/2404

Title: การเปิดรับสื่อ ความตระหนัก และทัศนคติที่มีต่อการมีส่วนร่วมในการสร้างเครือข่ายต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันในเขตกรุงเทพมหานคร
Other Titles: The implication of media exposure, awareness, and attitude on participation in anti-corruption network in Bangkok metropolitan
Authors: พจนีย์ บุญเจริญสุข
Keywords: การเปิดรับสื่อ
ความตระหนัก
ทัศนคติ
การมีส่วนร่วม
การสร้างเครือข่าย
คอร์รัปชัน
Issue Date: 2560
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการเปิดรับสื่อโฆษณารณรงค์ขององค์กรต่อต้านคอร์รัปชันกับความตระหนักและทัศนคติต่อการต่อต้านคอร์รัปชันทั้ง 3 ด้าน คือ ด้านการเปิดโปง ด้านการป้องกัน และด้านการปลูกฝัง และการพยากรณ์ความตระหนัก และทัศนคติต่อการต่อต้านคอร์รัปชันที่มีต่อพฤติกรรมการมีส่วนร่วมสร้างเครือข่ายต่อต้านคอร์รัปชัน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ โดยทำการสุ่มกลุ่มตัวอย่างจากบุคลากรที่ทำงานร่วมกับองค์กรต่อต้านคอร์รัปชันจากทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน โดยเลือกใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Random Sampling) ประกอบด้วย การสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) และกำหนดโควตาของกลุ่มตัวอย่าง (Quota Random Sampling) และการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ (Accidental Sampling) และนำข้อมูลมาวิเคราะห์ด้วยสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ การวิเคราะห์ความแปรปรวนตัวแปรพหุนาม สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson Correlation) และสถิติการวิเคราะห์การถดถอยพหูคูณแบบตัวแปรพหุนาม สรุปผลการวิจัยดังนี้ 1. กลุ่มตัวอย่างที่มีความแตกต่างด้านอายุ อาชีพ หน่วยงานสังกัดและรายได้แตกต่างกันจะมีความแตกต่างกันด้านความตระหนักและทัศนคติต่อการต่อต้านคอร์รัปชันทั้ง 3 ด้าน โดยกลุ่มตัวอย่างที่มีระดับการศึกษาและรายได้แตกต่างกันจะมีพฤติกรรมการมีส่วนร่วมสร้างเครือข่ายต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันแตกต่างกัน ทั้งนี้ กลุ่มตัวอย่างที่มีอาชีพแตกต่างกันจะมีพฤติกรรมการเปิดรับสื่อโฆษณารณรงค์การต่อต้านคอร์รัปชันแตกต่างกัน 2. พฤติกรรมการเปิดรับสื่อโฆษณารณรงค์การต่อต้านคอร์รัปชันทั้งสื่อโดยรวมและสื่อโฆษณาชุดอย่าปล่อยให้คนโกงมีที่ยืนในสังคม มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความตระหนักต่อการต่อต้านคอร์รัปชันทั้ง 3 ด้าน คือ ด้านการเปิดโปง ป้องกัน และปลูกฝังอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 3. พฤติกรรมการเปิดรับสื่อโฆษณารณรงค์การต่อต้านคอร์รัปชัน สื่อโดยรวมมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับทัศนคติต่อการต่อต้านคอร์รัปชันทั้ง 3 ด้าน คือ ด้านการเปิดโปง ป้องกัน และปลูกฝัง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และพฤติกรรมการเปิดรับสื่อโฆษณาชุดอย่าปล่อยให้คนโกงมีที่ยืนในสังคมมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับทัศนคติต่อการต่อต้านคอร์รัปชันด้านการเปิดโปงและปลูกฝังอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 4. ความตระหนักต่อการต่อต้านคอร์รัปชันมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับทัศนคติต่อการต่อต้านคอร์รัปชันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 5. ความตระหนักและทัศนคติการต่อต้านคอร์รัปชันสามารถพยากรณ์พฤติกรรมการมีส่วนร่วมสร้างเครือข่ายต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันของเครือข่ายองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน ในระดับที่ 1 การให้ข้อมูลและได้รับข้อมูล ระดับที่ 4 การสร้างความร่วมมือวางแผนร่วมกันและระดับที่ 5 การร่วมดำเนินการ
This research aims to examine the relationship among media exposure to television commercial about anti-corruption, awareness, and attitude toward anti-corruption initiatives including disclosure, preventative, and cultivation and to predict how awareness and attitude influence their participation in anti-corruption network as perceived by anti-corruption networks of Anti-Corruption Organization of Thailand (ACT). The questionnaires were distributed to 400 respondents from various sectors including governmental officials, private sectors and civil society, who are networks of ACT. The samples were selected using multi-stage random sampling, including stratified random sampling, quota random sampling, and accidental sampling. The data was analyzed using Multivariate Analysis of Variance (MANOVA), Pearson Correlation Coefficient, and Multiple Regression with significance level at 0.05. 1. Samples who varied in age, occupation, affiliated organizations, and income have significant difference in awareness and attitude toward anti-corruption initiatives. Samples who varied in educational level have significant difference in participation in anti-corruption networks. In addition, samples who varied in occupation have significant difference in their media exposure to television commercial about anti-corruption. 2. Sample’s media exposure to television commercial about anti-corruption in general and TV spot “Never let the corrupt take a stand in society” are positively correlated with their awareness on anti-corruption initiatives in disclosure, prevention, and cultivation at the statistical significance. 3. Sample’s media exposure to television commercial about anti-corruption in general and exposure to TV spot “Never let the corrupt take a stand in society” are positively correlated with their attitude toward anti-corruption initiatives in disclosure, prevention, and cultivation at the statistical significance. 4. Sample’s awareness on anti-corruption initiatives are positively correlated with their attitude toward anti-corruption initiatives. 5. Sample’s awareness and attitude toward anti-corruption can significantly predict their participation in anti-corruption network of ACT at the first stage “Information Dissemination and Receiving,” fourth stage “Cooperation in Planning,” and fifth stage “Partnership”.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--สาขาวิชาการสื่อสารเชิงกลยุทธ์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2559
Subjects: การทุจริตและประพฤติมิชอบ
การทุจริตและประพฤติมิชอบทางการเมือง
การทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ
โฆษณา -- การทุจริตและประพฤติมิชอบ -- การศึกษาเฉพาะกรณี
สื่อมวลชนกับการเผยแพร่ข่าวสาร
Advisor(s): พัชราภรณ์ เกษะประกร
ธนวุฒิ นัยโกวิท
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/2404
Appears in Collections:Theses

Files in This Item:

File Description SizeFormat
potjanee_boon.pdf8.51 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback