DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Graduate School >
Master Degree >
Theses >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/2324

Title: การให้คุณค่าสุนทรียภาพผ่านทัศนาการ สอดประสานเสียงเพลงทำนองที่สอดคล้องและขัดแย้งในห้างสรรพสินค้า
Other Titles: Appraisal of visual environment and percieved congruence between coherent and incoherent background music in the simulated department store environment
Authors: นันทวัฒน์ ตติยพันธุ์
Keywords: การประเมินสภาพแวดล้อม
ทัศนาการ
โสตการ
สภาพแวดล้อมจำลองห้างสรรพสินค้า
สอดคล้อง ขัดแย้ง
สุนทรียภาพ
Issue Date: 2559
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: โดยปกติแล้วมนุษย์รับรู้สิ่งเร้าจากสภาพแวดล้อมด้วยประสาทสัมผัสหลายทางพร้อมกัน เช่นเราจะผสานการรับรู้ทางโสตประสาทไปพร้อมกับการรับรู้ด้านทัศนาการ ด้านฆานะประสาท และด้านอื่น ๆ โดยมีสมองส่วนกลางทำหน้าที่ตัวกลางในการประสานการทำงานของระบบประสาทสัมผัส ต่าง ๆ ประมวลผลและตอบสนองต่อสิ่งเร้า โดยผสานกับประสบการณ์ในอดีตหรือความรู้ที่มีอยู่เดิม และเป็นการสร้างต้นแบบ (Prototype) ของสิ่งเร้าที่พบเจอเป็นประจำจนเกิดความคุ้นชิน โดยทฤษฎีต้นแบบ (Prototype Theory) ของ แซมมาร์ทีโน และพาลเมอร์ (Sammartino & Palmer, 2012) ได้อธิบายว่าความคุ้นชินต่อรูปแบบของสิ่งเร้าทางทัศนาการมี ความสัมพันธ์ทางบวกกับความพึงพอใจของผู้ที่รับรู้สิ่งเร้านั้นอย่างมีนัยสำคัญ อย่างไรก็ตามการศึกษาเรื่องความเป็นต้นแบบของการรับรู้สภาพแวดล้อมนั้นมุ่งเน้นศึกษาการรับรู้ทางทัศนาการเป็นสำคัญ จึงนำไปสู่ข้อคำถามว่า ทฤษฎีต้นแบบนี้ จะสามารถนำมาใช้อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ทางทัศนาการและด้านอื่นเช่นการรับรู้ทางโสตได้หรือไม่ และหากว่าต้นแบบของสิ่งเร้าที่เกิดจากการสอดประสานในการรับรู้ กับการรับรู้ที่ขัดแย้งกับความเป็นต้นแบบจะส่งผลต่อการประเมินสภาพแวดล้อมของมนุษย์เช่นไร สุดท้ายคือลักษณะภูมิหลังของบุคคล เช่นการศึกษาจะส่งผลต่อการสร้างต้นแบบและการประเมินสภาพแวดล้อมหรือไม่ การศึกษานี้ประกอบด้วยการทดลอง 2 ส่วน คือ 1) การทดสอบทฤษฎีต้นแบบในการสอดประสานการรับรู้ทางทัศนาการและทางโสตจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 60 คน โดยให้กลุ่มตัวอย่างจัดลำดับของเพลงทำนอง 4 ชนิด ได้แก่ แนวเพลงแจ๊ส แนวเพลงร็อค แนวเพลง EDM และแนวเพลงไทยเดิม ที่เห็นว่าสอดคล้องกับวีดีทัศน์จำลองของห้างสรรพสินค้าที่มีลักษณะร่วมสมัย ผลการศึกษาชี้ให้เห็นถึงลักษณะต้นแบบระหว่างการสอดประสานการรับรู้ทางทัศนาการและทางโสต กล่าวคือ กลุ่มตัวอย่างเลือกให้เพลงแจ๊สเป็นเพลงที่มีความสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมจำลองข้างต้นอย่างมีนัยสำคัญ 2) การศึกษาผลของการรับรู้สภาพแวดล้อมที่มีความขัดแย้งกับต้นแบบต่อการประเมินสภาพแวดล้อมของบุคคล รวมถึงปัจจัยของภูมิหลังด้านการศึกษาที่อาจส่งผลต่อการประเมินนี้ โดยการทดลองให้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 336 คน ซึ่งมีภูมิหลังด้านการออกแบบสถาปัตยกรรม กลุ่มที่มีภูมิหลังด้านการออกแบบทั่วไป และกลุ่มที่ไม่มีภูมิหลังด้านการออกแบบเลย ได้รับรู้ ก) สภาพแวดล้อมที่สอดคล้องกับต้นแบบการสอดประสานการรับรู้ด้านทัศนาการจากการศึกษาขั้นต้น ข) สภาพแวดล้อมที่ไม่สอดคล้องกับต้นแบบ และ ค) ทางทัศนาการอย่างเดียวคือกลุ่มควบคุม ผลจากการศึกษาในภาพรวมพบว่าการสอดประสานของสภาพแวดล้อมที่มีความเป็นต้นแบบจะส่งผลต่อการประเมินสภาพแวดล้อมในทางบวกมากที่สุด รองลงมาคือสภาพแวดล้อมที่ไม่สอดคล้องกับความเป็นต้นแบบ และสุดท้ายคือกลุ่มควบคุม ในส่วนของคำถามสุดท้าย พบว่าภูมิหลังด้านการศึกษาไม่ส่งผลต่อความสัมพันธ์ระหว่างการประเมินและความสอดคล้องกับต้นแบบของสภาพแวดล้อม นั่นคือความกลมกลืนกันระหว่างเสียงกับภาพนั้นส่งผลต่อการรับประเมินสภาพแวดล้อมในทางบวกมากที่สุด และเป็นที่น่าสนใจว่าแม้สภาพแวดล้อมที่มีความขัดแย้งกันระหว่างเสียงและภาพนั้นก็ยังส่งผลต่อการประเมินสภาพแวดล้อมดีกว่าการที่มนุษย์มีการรับรู้ผ่านทัศนาการเพียงด้านเดียว
Human perception is constructed from several dimensions of perceptual inputs. The acoustic properties of an environment, which is one of the human sensory functions, are important stimulations as well as indispensable influences on how human perceive his world. In merchandising design, background music is crucial for user’s experience, and appraisal of the environment. The purpose of this study is to investigate the relationship between the visual evaluation of the built-environment and perceived congruence of its acoustic properties by testing 1) whether the Prototype Theory (Sammartino & Palmer, 2012) can be extended to explain whether there is a preference for a certain visual and acoustic sensory perception pattern over the others, 2) the impact of this prototype, if any, on the subjects’ evaluation of the built environment, and 3) how the subjects’ demographic background might influence the construction of such a prototypical pattern of the visual and acoustic inputs. This experimental research was divided into 2 parts. The first part was to test the Prototype Theory, 60 participants from design and non-design background view the walk-though video of shopping mall with contemporary design, and rate 4 genres of background music that they perceived corresponding with design of the mall. The result indicated significant preference pattern of perceiving jazz music as the most congruence background music for the contemporary design mall while the traditional Thai music is ranked as the least congruence. The second part of the study consisted of 336 participants from 3 education backgrounds including spatial design, general design and non-design background. The participants were exposed to the same walk-though simulations of shopping mall with 3 different acoustical background conditions include a) jazz, b) traditional Thai, and c) silent as a control group. Then, they are asked to evaluate the simulated environment by using a semantic differential opposite adjective questionnaire. The result indicated statistical significant between the relationship of positive evaluation of the environment and the exposure of the visual and acoustic congruence environment. However, the educational background of the participant was not found to be a key factor affecting the relationship between the evaluation of the simulated environment and the exposure of the differing visual and acoustic patterns.
Description: วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--สาขาวิชาสถาปัตยกรรมภายใน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2559
Advisor(s): พิยะรัตน์ นันทะ
ชัยสิทธิ์ ด่านกิตติคุณ
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/2324
Appears in Collections:Theses

Files in This Item:

File Description SizeFormat
nantawat_tati.pdf7.65 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback