DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Graduate School >
Master Degree >
Theses >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/2231

Title: แนวทางการจัดการรูปแบบการท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืน กรณีศึกษาชุมชนบ้านโคกเมือง ตำบลจรเข้มาก อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์
Other Titles: Guidelines for sustainable tourism management for community-based tourism, A case study of Ban Kokmuang, Jorakhemak, Prakhonchai district, Buriram province
Authors: อัจฉรา ศรีลาชัย
Keywords: การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
การท่องเที่ยวโดยชุมชน
ชุมชนบ้านโคกเมือง
Issue Date: 2559
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: งานวิจัยนี้ศึกษาเรื่อง แนวทางการจัดการรูปแบบการท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืน กรณีศึกษาชุมชนบ้านโคกเมือง ตำบลจรเข้มาก อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ วัตถุประสงค์ในการศึกษา (1) เพื่อศึกษาถึงบริบทของชุมชน และทรัพยากรการท่องเที่ยวชุมชนภายใต้บริบทของการท่องเที่ยวโดยชุมชนของชุมชนบ้านโคกเมือง (2) เพื่อศึกษาศักยภาพของชุมชนในการจัดการการท่องเที่ยวให้ยั่งยืน (3) เพื่อศึกษาถึงสถานการณ์ในปัจจุบันในการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน (4) เพื่อศึกษาถึงปัจจัยแห่งความสำเร็จ และแนวทางการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืน ผู้วิจัยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ ศึกษาจากเอกสาร และสัมภาษณ์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการจัดการการท่องเที่ยวชุมชน จำนวน 34 คน ใช้การสังเกตการณ์ควบคู่ไปในการลงพื้นที่เก็บข้อมูล หลังจากนั้นวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ประเด็นจากการสัมภาษณ์ในแต่ละกลุ่ม และมีการอภิปรายผลงานวิจัย ผลการศึกษาพบว่า (1) บริบทของชุมชน และทรัพยากรการท่องเที่ยวชุมชนภายใต้บริบทของการท่องเที่ยวโดยชุมชนของชุมชนบ้านโคกเมือง ในด้านอัตลักษณ์ของชุมชนบ้านโคกเมือง คือ ภูมิสังคมของชุมชนที่บ่งบอกถึงความเป็นชุมชนที่มีวิถีชีวิตที่โดดเด่นในการทำนา มีประเพณีที่ถือปฏิบัติกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ ในด้านที่ตั้ง มีประวัติศาสตร์ของอารยธรรมขอมโบราณ วัฒนธรรมอีสานผสมผสานกับวัฒนธรรมเขมร และคนในชุมชนมีอัธยาศัยไมตรีพร้อมที่จะต้อนรับนักท่องเที่ยว ในด้านทรัพยากรการท่องเที่ยวในชุมชนมีจุดเด่น คือ มีปราสาทเมืองต่ำ และมีฐานการเรียนรู้ บริบทและทรัพยากรการท่องเที่ยวของชุมชนบ้านโคกเมืองมีความพร้อมในการเป็นชุมชนทางด้านการท่องเที่ยว (2) ศักยภาพของชุมชนในการจัดการการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ชุมชนมีศักยภาพในการดำเนินงานด้านการท่องเที่ยว ด้วยบริบทความพร้อมของชุมชนที่มีศูนย์การเรียนรู้ ทรัพยากรการท่องเที่ยว มีศักยภาพด้านการบริการ เช่น ร้านอาหาร บ้านพักโฮมสเตย์ มัคคุเทศก์น้อยนำเที่ยว ร้านจำหน่ายของที่ระลึก เป็นต้น (3) สถานการณ์ปัจจุบันในด้านการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน มีกระแสทางการท่องเที่ยวชุมชนไปในทิศทางที่ดี และมีทิศทางชัดเจน เพราะมีหน่วยงานเข้ามาให้ความสนใจ และบวกกับนโยบายของทางภาครัฐที่มียุทธศาสตร์การท่องเที่ยวออกมาที่ชัดเจน ทำให้การทำงานด้านการท่องเที่ยวโดยชุมชนเห็นความชัดเจนมากยิ่งขึ้น (4) ปัจจัยแห่งความสำเร็จ และแนวทางในการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืน ในด้านปัจจัยแห่งความสำเร็จของชุมชนบ้านโคกเมืองมีรางวัลที่ช่วยการันตีความสำเร็จของชุมชน เช่น รางวัลหมู่บ้านท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม รางวัลหมู่บ้าน OTOP Village Champions ล่าสุดได้รับรางวัลมาตรฐานโฮมสเตย์ เป็นชุมชนที่มีการพัฒนามาเป็นระยะเวลายาวนานทำให้ชุมชนประสบความสำเร็จในด้านการท่องเที่ยว ส่วนในด้านแนวทางในการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืน ชุมชน หน่วยงานต่าง ๆ ที่เข้ามาทำงานร่วมกับชุมชนต้องมองถึงศักยภาพ จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส อุปสรรคของชุมชนเพื่อที่จะพัฒนาด้านการท่องเที่ยวให้ถูกจุด คนในชุมชนก็ต้องร่วมกันรักษาอัตลักษณ์ของชุมชน และพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนให้มีความน่าสนใจ ต้องวางแผนในการทำการตลาดให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยี คนในชุมชนก็ต้องได้รับการพัฒนาศักยภาพในการทำงานด้านการท่องเที่ยว และประการสำคัญชุมชนต้องจัดทำแผนการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนขึ้นเพื่อใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานต่อไปได้ในอนาคต
The title of this research is the guidelines for sustainable tourism management for community-based tourism as a case study of Ban Kokmuang, Jorakhemak, Prakhonchai District, Buriram Province. The objectives of this research are (1) to study the context of community and tourism resources in the context of community-based tourism for Ban Kokmuang, (2) to study the community capacity building for sustainable tourism management, (3) to study the current situation in the community-based tourism, (4) to study the success factors and guidelines for sustainable community-based tourism management. The researchers used qualitative research methods with studying the documents and interviewing 34 stakeholders in community which also observed the interviewees for analyzing data during discussion. The finding gets four major areas that are (1) the context of community and tourism resources in the context of community-based tourism for Ban Kokmuang is the identities of Ban Kokmuang, which is the social geography community in order to the way of the outstanding famers’ lifestyle with doing as a traditional culture. Moreover, location refers to the histories of the ancient Khmer civilization they is mixed between Isan and Khmer culture to let local people to welcome tourist with pleasures, community’s tourism resources are a hallmark Prasat Muang Tam and a community-based learning. The context and tourism resource of Ban Khokmuang is ready to be a community-based tourism. (2) the community capacity building is capacity management of sustainable tourism which includes a learning center, tourism resources and homestay such as restaurants, homestays, tour guides, souvenir shops etc. (3) The current situation of the tourism community is good and clear perception because the authorities are interesting and the government tourism strategy has graphically policy that makes the community-based tourism extremely rapid growth. (4) The essential success factor for sustainable community-based tourism was guaranteed by cultural tourism’s community award, OTOP Village Champions and Thailand homestay standard 2015-2017 that refer to this successful community-based tourism continuously developing for long time. Also, community-based tourism guidelines cooperate with community, the authority, and stakeholders to analyze the potential of community for a focus development by SWOT analysis. Local people must preserve their community identity and develop their community product to be attracted via technology in marketing plan. Local people must improve the competency to work in tourism. Significantly, community must do a community-based tourism plan for the guideline on the procedure in the future.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--สาขาการจัดการอุตสาหกรรมบริการและการท่องเที่ยว บัณฑิตวิทยาลัย, 2559
Advisor(s): ภูเกริก บัวสอน
ชลวิช สุธัญญารักษ์
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/2231
Appears in Collections:Theses

Files in This Item:

File Description SizeFormat
atchara.sril.pdf10.29 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback