DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Graduate School >
Master Degree >
Theses >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/2048

Title: พฤติกรรมการท่องเที่ยวของประชากรรุ่นเบบี้บูมในกรุงเทพมหานคร
Other Titles: The traveling behavior of the baby boomer generation in Bangkok
Authors: พงศ์เสวก เอนกจำนงค์พร
Keywords: พฤติกรรมการท่องเที่ยว
ประชากรรุ่นเบบี้บูม
กรุงเทพมหานคร
Issue Date: 2559
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการท่องเที่ยวของประขากรรุ่นเบบี้บูมในกรุงเทพมหานคร (2) เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการท่องเที่ยวของประชากรรุ่นเบบี้บูมในกรุงเทพมหานคร เมื่อจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ (3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านจิตวิทยา และปัจจัยด้านสังคมและวัฒนธรรมกับพฤติกรรมการท่องเที่ยวของประชากรรุ่นเบบี้บูมใน กรุงเทพมหานคร โดยใช้การวิจัยแบบผสมวิธี เครื่องมือการวิจัยเชิงปริมาณเป็นแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 312 คน สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติพรรณนา ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอ้างอิง ได้แก่ การวิเคราะห์ความแปรปรวนหนึ่งทาง และหาความสัมพันธ์ด้วยไคสแควร์ ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพเครื่องมือเป็นแบบสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง กลุ่มตัวอย่างจำนวน 30 คน และใช้การวิเคราะห์เนื้อหา การวิเคราะห์เบื้องต้น แสดงว่า กลุ่มตัวอย่างที่ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 51-55 ปี มีสถานภาพสมรส และส่วนใหญ่ไม่มีบุตร มีภาระครอบครัว ระดับการศึกษาปริญญาตรี ส่วนมากมีอาชีพรับจ้าง รายได้ส่วนใหญ่สูงกว่า 30,000 บาท สุขภาพโดยทั่วไปแข็งแรง และอาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครมากกว่า 5 ปี ส่วนปัจจัยด้านจิตวิทยาและปัจจัยด้านสังคมและวัฒนธรรมต่อพฤติกรรมการท่องเที่ยวของประชากรรุ่นเบบี้บูมในกรุงเทพมหานคร ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ผลการวิจัยจากการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ พบว่า (1) ประชากรรุ่นเบบี้บูมในกรุงเทพมหานคร นิยมท่องเที่ยวเพื่อการพักผ่อนและท่องเที่ยวในสถานที่ท่องเที่ยวตามธรรมชาติ เดินทางท่องเที่ยวแบบกลุ่มหรือหมู่คณะ มีการจัดการเดินทางด้วยตนเอง มีครอบครัวหรือญาติเป็นผู้ร่วมเดินทางและตัดสินใจในการเดินทาง เดินทางท่องเที่ยว 2-3 ครั้งต่อปี และเป็นการท่องเที่ยวภายในประเทศ โดยท่องเที่ยวในวันเสาร์-วันอาทิตย์ และใช้เวลาท่องเที่ยว 1-2 วัน (2) ประชากรรุ่นเบบี้บูมในกรุงเทพมหานครที่มีคุณลักษณะด้านเพศ อายุ สถานภาพสมรส จำนวนบุตร ภาระครอบครัว อาชีพ ระดับการศึกษา สุขภาพและระยะเวลาที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครต่างกันมีพฤติกรรมการท่องเที่ยวแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนคุณลักษณะด้านระดับรายได้และมีพฤติกรรมการท่องเที่ยวแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ และ (3) พบว่า ปัจจัยด้านจิตวิทยา ปัจจัยด้านสังคมและวัฒนธรรม มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการท่องเที่ยวของประชากรรุ่นเบบี้บูมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
This research aimed to (1) study the traveling behavior of baby boomer generation in Bangkok, (2) compare their traveling behavior among different demographic groups and (3) investigate the relationship between psychological and socio-cultural factors with traveling behavior. Mixed methods were employed in this research. Questionnaires were used to collect qualitative data from a sample of 312 respondents. Statistics used were frequency, percentage, average, standard deviations, one-way Analysis of Variance (One-way ANOVA) and Chi-square. Unstructured interview was used to collect qualitative data from 30 informants in the government and private sectors. Content analysis was then used to analyze the data. The majority of the sample were female, aged between 51-55 years old, married with no children, having a master’s degree or above and still taking care of their family members. They worked as employees, and had above 30,000-baht monthly income, generally strong and healthy and living in Bangkok for over 5 years. Perceptions towards psychological and socio-cultural factors are of high level. The results of the study were as follows: (1) most of the baby boomers preferred travelling as a group for leisure and nature for a period of 1-2 days. They planned their trips by themselves and mostly traveled with their relatives and families. They traveled 2-3 times a year especially on Saturdays and Sundays;(2) The traveling behaviors of the baby boomer generation were statistically significantly different among those with certain different personal characteristics; namely, gender, age, marital status, number of children, occupation, educational level, health and the length of stay in Bangkok; and (3) The traveling behavior of the baby boomer generation was found to have and statistically significant relationship with their perceptions towards psychological and socio-cultural factors.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรมการบริการและการท่องเที่ยว บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2558
Advisor(s): สมยศ วัฒนากมลชัย
กิ่งแก้ว ทรัพย์พระวงศ์
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/2048
Appears in Collections:Theses

Files in This Item:

File Description SizeFormat
pongsavake_anek.pdf3.85 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback