DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Graduate School >
Master Degree >
Theses >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/1899

Title: การวิเคราะห์อภิมานงานวิทยานิพนธ์ของหลักสูตรนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Other Titles: Meta-analysis of master's thesis of communication arts in Bangkok university
Authors: ภัทริน สันทศนะสุวรรณ
Keywords: การวิเคราะห์อภิมาน
Issue Date: 2559
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: การวิเคราะห์อภิมานครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้ 1) เพื่อวิเคราะห์คุณลักษณะงานวิจัยของวิทยานิพนธ์หลักสูตรนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ 2) เพื่อประเมินคุณภาพของวิทยานิพนธ์ หลักสูตรนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ 3) เพื่อศึกษาดัชนีมาตรฐานของวิทยานิพนธ์ หลักสูตรนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ 4) เพื่ออธิบายความแปรปรวนของผลวิจัยด้วยตัวแปรคุณลักษณะงานวิจัยของวิทยานิพนธ์ หลักสูตรนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ โดยศึกษาจากวิทยานิพนธ์ระหว่างปีพ.ศ. 2537 - 2556 จำนวน 46 เรื่อง ซึ่งเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แบบบันทึกคุณลักษณะงานวิจัยและแบบประเมินคุณภาพงานวิจัย การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติบรรยาย การวิเคราะห์ตารางไขว้ (Cross-Tabs) การวิเคราะห์ความแปรปรวนหลายทาง (Two-Way ANOVA) และการวิเคราะห์ถดถอยพหูคูณ (Multiple Regression Analysis) ผลการสังเคราะห์สามารถสรุปได้ ดังนี้ 1) วิทยานิพนธ์ที่นำมาสังเคราะห์มีผู้วิจัยเป็นเพศหญิง ทำเสร็จระหว่างปี พ.ศ. 2542 - 2546 และมีอาจารย์ที่ปรึกษาตำแหน่งผู้ช่วยศาสตรจารย์มากที่สุด โดยส่วนใหญ่เป็นวิทยานิพนธ์ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาและหาความสัมพันธ์ ใช้แนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวกับการเปิดรับข่าวสารมากที่สุด อีกทั้งยังใช้การสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอนและการวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) มากที่สุด 2) ผลการประเมินคุณภาพของวิทยานิพนธ์ โดยเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับค่อนข้างสูง 3) ตัวแปรคุณลักษณะงานวิจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพของวิทยานิพนธ์ ประกอบไปด้วย การตรวจสอบเนื้อหา ความเหมาะสมของภาษา และโครงสร้างของแบบสอบถาม ค่าความเชื่อมั่นของเครื่องมือ จำนวนตัวแปรตาม และสถิติ Chi-square 4) ตัวแปรคุณลักษณะงานวิจัยที่ส่งผลต่อความแปรปรวนของค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ที่ปรับแก้ทางด้านผลของสื่อต่อผู้รับสารอย่างมีนัยสำคัญ ประกอบไปด้วย ปีที่ตีพิมพ์งานวิจัยและตำแหน่งวิชาการของอาจารย์ที่ปรึกษา ประเภทของตัวแปรตามที่เลือกใช้ และคุณภาพของเครื่องมือในภาพรวม 5) ตัวแปรวิธีดำเนินงานวิจัยด้านชนิดความเที่ยงของเครื่องมือที่ใช้ค่า Cronbach's Alpha แนวคิดเกี่ยวกับความรู้ ทัศนคติ พฤติกรรมของผู้บริโภค และ ค่าความเที่ยงของเครื่องมือ สามารถอธิบายค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ทางด้านผลกระทบของสื่อต่อผู้รับสารที่ปรับแก้ได้ในทิศทางเดียวกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .00 และ .01 ตามลำดับ 6) ตัวแปรตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ มีอิทธิพลทางตรงต่อตัวแปรค่าสหสัมพันธ์ที่ปรับแก้แล้วทางด้านผลกระทบของสื่อต่อผู้รับสาร อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ โดยตัวแปรตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ มีอิทธิพลทางอ้อมผ่านตัวแปรแนวคิดเกี่ยวกับความรู้ ทัศนคติ พฤติกรรมของผู้บริโภค ผ่านทางตัวแปรคุณภาพของแบบประเมินในภาพรวมระดับดี หรือผ่านทางตัวแปรชนิดความเที่ยงของเครื่องมือที่ใช้ค่า Cronbach's Alpha หรือผ่านทางตัวแปรค่าความเที่ยงของเครื่องมือ และผ่านตัวแปรคุณภาพของวิทยานิพนธ์ ไปถึงตัวแปรค่าสหสัมพันธ์ที่ปรับแก้แล้วทางด้านผลกระทบของสื่อต่อผู้รับสาร
The purposes of Meta-Analysis are 1) To analyze the research characteristics of the Master’s Theses in Communication Arts of Bangkok University. 2) To assess the research quality of the Master’s Theses in Communication Arts of Bangkok University. 3) To study the standard index of the Master’s Theses in Communication Arts of Bangkok University, and 4) To describe the variance of research results with the research Characteristic variables. The 46 theses conducted between 1994 - 2013 were selected, and research tools used to collect the information are the code sheet of research characteristics, method and results are the evaluation form of research quality. The data were analyzed using descriptive statistics, cross tabulation, ANOVA and multiple regression analysis. The synthesis can be concluded as follows: 1) The selected theses done between 1994 -2003 were mostly conducted by a female researcher, the advisor’s academic title of assistant professor. These theses mostly explored the relationships between variables based on the exposure theory and the data were analyzed using One-way ANOVA 2) The average of the research quality was at the high level. 3) The statistically significant research variables affecting the research quality were content editing, language use, structure of research tools, reliability of research tools, number of dependent variables and Chi-square test statistics. 4) The statistically significant research characteristics variables affecting the variance of the adjusted correlation coefficients indicating the effects of media on receivers were publication year, advisor’s academic title, dependent variables type, and the quality of the research tools. 5) Research method variables on Cronbach's Alpha Coefficient of research tools, theory of knowledge, attitude and behavior, and reliability of research tools, could positively explain the adjusted correlation coefficient indicating the effects of media on receivers at the statistical significance levels of .001 and .01 respectively. 6) The variable of Assistant Professor has direct effect on the adjusted correlation coefficient indicating the effects of media on receivers weren’t statistically significant. and the variable of assistant professor have indirect effect past to variable theory of knowledge, attitude and behavior of consumers, and past to the quality of the research tools or Cronbach's Alpha Coefficient of research tools or reliability of research tools and past to the research quality to the adjusted correlation coefficient indicating the effects of media on receivers.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--สาขาวิชาการสื่อสารเชิงกลยุทธ์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2558
Advisor(s): รสชงพร โกมลเสวิน
ธีรพล ภูรัต
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/1899
Appears in Collections:Theses

Files in This Item:

File Description SizeFormat
pattarin.sant.pdf5.15 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback