DSpace at Bangkok University >
Cluster of New Media & Design >
School of Law >
Master Degree >
Independent Studies >
Please use this identifier to cite or link to this item:
http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/1125
|
Title: | การคุ้มครองสินค้าหัตถกรรมจากภูมิปัญญาชาวบ้าน: ศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายไทยและกฎหมายต่างประเทศ |
Other Titles: | Protection in folk wisdom in handicraft products: A comparative study between Thai and International Laws |
Authors: | ภูชิชย์ สุรรัตน์ |
Keywords: | สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ สินค้าหัตถกรรม กฎหมายไทย กฎหมายต่างประเทศ |
Issue Date: | 2557 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยกรุงเทพ |
Abstract: | ประเทศไทยในปัจจุบันได้มีการส่งออกสินค้าหัตถกรรมเป็นจำนวนมากและสินค้าหัตถกรรมของไทยนั้นเป็นที่นิยมแพร่หลายไปทั่วโลกจนอาจก่อให้เกิดเป็นรายได้หลักของประเทศได้อีกทางหนึ่งนอกจากสินค้าเกษตรกรรมแม้ประเทศไทยจะมีกฎหมายสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ประกาศใช้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2546 และมีสินค้าหัตถกรรมบางชนิดก็ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์เช่น ผ้าไหมยกดอกลำพูน และเครื่องปั้นดินเผาศิลาดล เชียงใหม่ ซึ่งเป็นสินค้าหัตถกรรมที่เชื่อมโยงกับแหล่งภูมิศาสตร์ จึงได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ แต่ยังมีสินค้าหัตถกรรมบางประเภทเช่นมีดอรัญญิกที่ใช้กรรมวิธีการผลิตดั้งเดิมตามภูมิปัญญาชาวบ้านที่สืบทอดกันมาจากรุ่นสู่รุ่นโดยไม่ได้อิงกับแหล่งภูมิศาสตร์ จากการศึกษาพบว่าการคุ้มครองสินค้าหัตถกรรมในประเทศไทย ตามกฎหมายสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ของประเทศไทยเป็นเพียงเป็นเพียงการคุ้มครองสินค้าหัตถกรรมความเชื่อมโยงกับพื้นที่นั้นอย่างใกล้ชิดโดยต้องมีอย่างน้อย 1 ขั้นตอนระหว่างการผลิตผ่ากระบวนการหรือเตรียมการเกิดขึ้นในพื้นที่ภูมิศาสตร์เท่านั้นมิได้ขยายความคุ้มครองเป็นภูมิปัญญาชาวบ้านทีไม่ได้ขึ้นกับแหล่งพื้นที่ภูมิศาสตร์เมื่อยังไม่มีกฎหมายใดให้ความคุ้มครองสินค้าหัตถกรรมที่เป็นภูมิปัญญาชาวบ้านแต่ไม่อิงกับแหล่งภูมิศาสตร์อาจทำให้เกิดปัญหาโดนลอกเลียนหรือมีผู้เอาภูมิปัญญาชาวบ้านของไทยไปลักลอบจดทะเบียนอ้างว่าเป็นภูมิปัญญาของตน ดังเช่นที่บางประเทศนำเอาท่าฤษีดัดตนของไทยไปจดเป็นเครื่องหมายการค้าของตน หากมีการให้ความคุ้มครองสินค้าหัตถกรรมที่เป็นภูมิปัญญาชาวบ้านแต่ไม่อิงแหล่งภูมิศาสตร์ จะช่วยป้องกันการโจรกรรมภูมิปัญญาของไทย และผู้ผลิตสินค้าหัตถกรรมประเภทภูมิปัญญาชาวบ้านที่ไม่เกี่ยวกับแหล่งภูมิศาสตร์ในประเทศไทยในหลายท้องที่จะได้รับประโยชน์มากเพราะสินค้าหัตถกรรมของประเทศไทยมีมากมาย หากกฎหมายเข้าไปคุ้มครองดูแล จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ผลิตหัตถกรรมแบบภูมิปัญญาชาวบ้านไม่เกี่ยวกับแหล่งภูมิศาสตร์ ตัวสินค้าหัตถกรรมนั้นก็จะได้รับการเพิ่มค่าในมูลค่าของตัวสินค้าด้วย
ผู้เขียนจึงเห็นว่าหากประเทศไทยได้มีการพัฒนากฎหมายสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ให้มีการตีความให้ครอบคลุมถึงสินค้าหัตถกรรมที่เป็นภูมิปัญญาชาวบ้านไม่อิงกับแหล่งภูมิศาสตร์หรือมีกฎหมายให้ความคุ้มครองสินค้าหัตถกรรมที่เป็นภูมิปัญญาชาวบ้านไม่อิงกับแหล่งภูมิศาสตร์ ผู้ผลิตสินค้าหัตถกรรมในประเทศไทยในหลาย ๆ ท้องที่จะได้รับประโยชน์มากเพราะสินค้าหัตถกรรมของประเทศไทยมีมากมายหากกฎหมายเข้าไปคุ้มครองดูแล จะป้องกันการโจรกรรมภูมิปัญญา และจะเป็นประโยชน์และผู้ผลิตหัตถกรรมแบบภูมิปัญญาชาวบ้าน ตัวสินค้าหัตถกรรมนั้นก็จะได้รับการเพิ่มค่าในมูลค่าของตัวสินค้าด้วย At present, a lot of Thai handicraft products have been exported and become well known to global market. Accordingly, handicraft products can be another major income besides agricultural products. Although the protection of geographical indications law has been enforced since 2003 (B.E. 2546), it requires that the product must be related to the area of origin. Some handicraft products are registered as the geographical indications, for example, “Lamphun brocade Thai Silk” and “Chiangmai Celadon Ceramics”, which are the handicrafts relating to the area of origin. Yet, there are some types of handicraft relating to folk wisdom such as “Aranyik knife” that handed down over generations without reference to the area of origin.
This research found that the Protection of Thai handicraft products under Protection of Geographical Indications Act B.E. 2546 (2003) could be protected only when the products are closely related to the area of origin at least one step during the protection or preparation process but the Act did not extend to protect the products relating to folk wisdom that had no reference to the area of origin causing a lots of imitate products. In addition, there was someone claimed as a right holder of Thai folk wisdom such as “Thai yoga posture” by registering as a trademark in other countries. Therefore, the protection of handicrafts relating to folk wisdom would benefit Thai handicraft manufacturers and adding value of the products.
This research suggests that the Protection of Geographical Indications Act B.E. 2546 should be extended to protect handicrafts relating to folk wisdom or there should be the law to protect such handicrafts. |
Description: | การค้นคว้าอิสระ (น.ม.)--บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2556 |
Advisor(s): | อรรยา สิงห์สงบ ปัจฉิมา ธนสันติ |
URI: | http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/1125 |
Appears in Collections: | Independent Studies
|
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.
|